วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Biochemical Oxygen Demand Test 9



เมื่อ  DO0  คือ ปริมาณออกซิเจนเริ่มต้น
        DO5  คือ ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายแบคทีเรีย (สุดท้าย)

เครื่องมือและอุปกรณ์
1.       ขวดบีโอดี ขนาด 300 มล.
2.        ขวดน้ำกลั่น + จุกยาง
3.       กระบอกตวง ขนาด 100 มล.
4.       ปิเปตต์
5.       ชุดการไตเตรท
6.       บีกเกอร์

สารเคมี
1.             สารละลายแมงกานีสซัลเฟต (MnSO4.H2O)
2.             สารละลายอัลคาไล-ไอโอไดด์-เอไซด์ (AIA)
3.             กรดซัลฟูริกเข้มข้น (H2SO4conc)
4.             น้ำแป้ง (Solution)
5.             สารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.0250 N (Na2S2O3.5H2O)
6.             สารละลายมาตรฐานโพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI)
7.             น้ำตัวอย่าง

วิธีการทดลอง
          1) นำน้ำตัวอย่างที่ผ่านการบ่มไว้แล้วเป็นเวลา 5 วัน มาปรับอุณหภูมิให้อยู่ที่อุณหภูมิห้องโดยการแช่ขวดบีโอดีน้ำตัวอย่างลงในอ่างน้ำ
          2)  เติมแมงกานีสซัลเฟต (MnSO4H2O)   1.5 มล. โดยใช้ปิเปต  ดูดขึ้นมา วิธีเติมให้จุ่มปิเปตลงไปกลางขวดและค่อยๆ ปล่อยสารออกไป
          3) เติม Alkali – iodine acid (AIA)  1.5 มล.โดยใช้ปิเปตขนาด 1 มล.ดูดขึ้นมา โดยวิธีเติมให้เช่นเดียวกับการเติมแมงกานีสซัลเฟต
         4) ปิดฝาและเขย่าขวดบีโอดี การเขย่าขวดบีโอดี ให้จับขวดโดยให้นิ้วชี้กดฝาขวดไว้ แล้วพลิกไปมาประมาณ 15 ครั้ง ตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 5 นาที จะมีตะกอนเกิดขึ้น
         5) เติมกรดซัลฟุริกเข้มข้น ( H2SO4 cone) 2 มล. โดยใช้ปิเปตขึ้นมา วิธีเติมให้ปลายปิเปตแตะข้างขวดและค่อยๆ ปล่อยสารลงไป ปิดฝาและเขย่าขวดบีโอดีอีกครั้ง การเขย่าขวดบีโอดี ให้จับขวดโดยให้นิ้วชี้กดฝาขวดไว้ แล้วพลิกไปมาจนตะกอนหายไป
         6) ตวงน้ำตัวอย่างในกระบอกตวงขนาด100มล.ออกมา98มล.เพราะฉะนั้นจะเหลือน้ำในขวดบีโอดี202มล.
7)      นำน้ำตัวอย่างที่เหลือในขวดบีโอดี ไปไตเตรทด้วยสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต (Na2S2O3) ความเข้มข้น 0.026 N ที่เตรียมไว้ จนน้ำตัวอย่างเปลี่ยนเป็นสีน้ำฟางข้าว
8)      หยดน้ำแป้งประมาณ 10 หยด ลงในน้ำตัวอย่าง  น้ำตัวอย่างจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ทำการไต
เตรทต่อจนสีน้ำเงินหายไป  จดบันทึกปริมาณสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้ไป  แล้วบันทึกผล


ข้อควรระวังในการทดลอง
-              การเติมสาร AIA และ MnSO4 ควรจุ่มให้ปลายปิเปตต์ลงไปกลางขวดบีโอดี แล้วค่อยๆปล่อยสารลงไป เพราะจะทำให้สารกระจายไปได้ทั่วขวด
-              การเติมกรด H2SO4 conc ควรแตะปลายปิเปตต์ที่ปากขวดบีโอดี หากกรดเข้มข้นสัมผัสกับน้ำอาจทำให้เกิดการปะทุได้
-              หลังเติมกรด H2SO4 conc แล้ว ก่อนการเขย่าควรนำขวดบีโอดีไปเขย่าที่อ่างน้ำ ปิดฝาขวด เทกรดที่ล้นปากขวดออก โดยไม่ให้กรดสัมผัสกับผิวหนัง
-              ก่อนทำการไทเทรตควรกลั่วบิวเรตด้วยสารนั้น แล้วจึงบรรจุสารลงไป
-              ในการเปิดฝาขวดบีโอดีควรค่อยๆหมุนและค่อยๆดึงขึ้นเรื่อยๆ

1 ความคิดเห็น: