วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Biochemical Oxygen Demand Test 12



วิจารณ์การทดลอง
          จากผลการทดลอง เห็นได้ว่าเมื่อเติม AIA 1.5 ml ลงไปในน้ำตัวอย่าง  น้ำตัวอย่างเกิดตะกอนเป็นสีขาวขุ่น ตั้งทิ้งไว้จนได้ตะกอน ¾ ของน้ำ  แล้วเติมกรดซัลฟิวริกเข้มข้นลงไป ตะกอนที่ละลายก็ยังคงให้เป็นสีขาวอยู่ นั่นแสดงหมายความว่า ในน้ำตัวอย่างที่ทำการทดลองไม่มีออกซิเจนเหลืออยู่เลย เนื่องจากจุลินทรีย์ได้นำออกซิเจนไปใช้ย่อยสลายแบคทีเรียจนหมด จึงไม่สามารถนำน้ำตัวอย่างไปทำการไทเทรตได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำตัวอย่างที่นำมาทำการทดลองมีสภาพที่ไม่ดี อาจเป็นน้ำเน่าเสีย
            ดังนั้น ค่า BOD ที่ได้จึงมีค่าดังนี้     จาก     BOD = DO0 – DO5
                                แทนค่า                    BOD = 2.240 – 0.000
                                                                   = 2.240   หรือประมาณ  2  mg/ml
          จะได้ว่า   ค่า BOD ในน้ำดี ได้เท่ากับ 2.00 mg/ml

การวิเคราะห์ข้อมูล
          การเตรียมสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง การหาค่า BOD ในน้ำดี มีดังนี้
1)  สารละลายแมงกานีสซัลเฟต
          จากสารละลายแมงกานีสซัลเฟต (MnSO4.H2O)  364 กรัม ในน้ำกลั่นปริมาตร  1000 มล.
เมื่อต้องการสารละลายแมงกานีสซัลเฟตเพียง  100 มล.  ต้องชั่ง MnSO4 มาเท่าไร
วิธีทำ
                             จากสูตร      g  =   
                   แทนค่า                  g  = 
                                                          =  36.4  g  
ดังนั้น  ต้องชั่ง MnSO4  มา  36.4  กรัม  ทำการละลายแล้วปรับปริมาตรเป็น  100  มล.  
2)    สารละลาย Alkali – iodine  azine หรือ AIA
          Alkali – iodine  azine หรือ AIA ต้องเตรียมจากสาร NaN3  10 กรัม ในน้ำกลั่น 40 มล.  NaOH  500 กรัม และ  NaI  135  กรัม ที่ปริมาตร 1000 มล.
วิธีคิด   โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์
          2.1) NaN3  10  กรัม ในน้ำกลั่น  40 มล.  
          สารละลายปริมาตร  1000  มล.   มี  NaN3  10  กรัม
ถ้าต้องการสารละลายปริมาตร  100  มล.   จะมี  NaN3  =     =  1     กรัม
ดังนั้น  ต้องชั่ง NaN3 มา 1   กรัม ทำการละลายแล้วปรับปริมาตรเป็น  100  มล.  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น