วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Biochemical Oxygen Demand Test 11



บทที่ 4
สรุปผลการทดลอง

จากการทดลอง การหาค่า บีโอดี ในน้ำดี  ทั้งสองตอนเป็นดังนี้
สรุปผลการทดลองตอนที่ 1การหาปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำDO หรือ DO0 
          จากการทดลอง การหาค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำหรือ DO0 ได้ผลการทดลองดังนี้ ทดลองครั้งที่ 1 เมื่อเติมสารเคมีแล้วทำการไทเทรต หลังเติมน้ำแป้งน้ำตัวอย่างเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นใส ไม่มีสี ที่ปริมาตรโซเดียมไธโอซัลเฟตใช้ไปเท่ากับ 1.90 ml  ครั้งที่ 2 เมื่อเติมสารเคมีแล้วทำการไทเทรต หลังเติมน้ำแป้งน้ำตัวอย่างเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นใส ไม่มีสี ที่ปริมาตรโซเดียมไธโอซัลเฟตใช้ไปเท่ากับ 2.50 ml และ ครั้งที่ 3 เมื่อเติมสารเคมีแล้วทำการไทเทรต หลังเติมน้ำแป้งน้ำตัวอย่างเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นใส ไม่มีสี ที่ปริมาตรโซเดียมไธโอซัลเฟตใช้ไปเท่ากับ 2.40 ml เฉลี่ยได้เท่ากับ 2.266 ml และนำไปหาค่าออกซิเจนละลาย ได้เท่ากับ 2.33 mg/ml

วิจารณ์การทดลอง
          จากผลการทดลอง พบว่า ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำหรือ DO0 ที่ได้จากการทดลองนั้นค่อนข้างน้อยถึงน้อยมาก เนื่องจากน้ำที่นำมาทำการทดลองนั้น มีพืชจำพวก จอก แหน ปกคลุมผิวน้ำเป็นจำนวนมาก น้ำไม่ได้รับแสงอาทิตย์ จึงมีปริมาณออกซิเจนเป็นจำนวนน้อยทั้งทั้งๆที่น้ำนั้นดี ไม่เน่าเสียแต่อย่างใด เพราะเหตุนี้จึงทำให้ผลการทดลองได้ไม่ตรงตามความพึงพอใจมากนัก ปริมาณของออกซิเจนที่ควรมีในน้ำ จะอยู่ที่ประมาณ 6.00 – 8.70 mg/ml จึงจะถือว่าน้ำนั้นดี และเมื่อนำไปทำการทดลองก็จะได้ผลการทดลองที่ใกล้เคียงกับข้อมูลจริง
           
สรุปผลการทดลองตอนที่ 2  การหาค่า  BOD ในน้ำดี
          จากการทดลอง การหาค่า BOD ในน้ำดีหรือ DO5  น้ำตัวอย่างที่ผ่านกระบวนการบ่มที่อุณหภูมิ
200 C เป็นเวลา 5 วัน พบว่าเมื่อเติม AIA 1.5 ml ลงไปในน้ำตัวอย่างทั้ง 3 ครั้ง น้ำตัวอย่างเกิดตะกอนเป็นสีขาวขุ่นเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถนำไปทำการไทเทรตต่อได้ เนื่องจากในน้ำตัวอย่างไม่มีออกซิเจนเหลืออยู่เลย จึงมีค่าการทดลองเป็นศูนย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น