วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Biochemical Oxygen Demand Test 3



การวิเคราะห์หาค่า บีโอดี
การวิเคราะห์หาค่าบีโอดีแบ่งออกเป็น 2 วิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสกปรกมากน้อยของน้ำตัวอย่างคือ
1.    วิเคราะห์หาค่าบีโอดีโดยตรง(direct method)จะใช้ในกรณีที่น้ำตัวอย่างมีค่าบีโอดีไม่เกิน  7 mg/l
2.    วิธีหาค่าบีโอดีโดยการเจือจาง(dilution method)จะใช้ในกรณีที่น้ำตัวอย่างมีค่าบีโอดีเกิน 7 mg/l

การวิเคราะห์หาค่าบีโอดีโดยตรง
การวิเคราะห์หาค่าบีโอดีโดยตรงมีขั้นตอนดังนี้
1.    เติมออกซิเจนลงในน้ำตัวอย่าง
2.    ถ่ายน้ำตัวอย่างที่อิ่มตัวด้วยอากาศลงในขวดบีโอดี 2 ขวด
3.    นำขวดบีโอดีที่หนึ่งมาหาค่าดีโอเริ่มต้น (DO0) ส่วนขวดบีโอดีขวดที่ 2  นำไปบ่มที่ตู้บ่มบีโอดีที่ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 5 วัน  แล้วนำมาหาค่าดีโอของวันที่ 5 (DO5)  สามารถคำนวณหาค่า BDO5 ได้ดังนี้ 
  =    = 
เมื่อ      V  =  ปริมาณขวดบีโอดี(โดยปกติมีค่าเท่ากับ 300 ลบ.ซม.)
Vs  =  ปริมารน้ำตัวอย่างที่เติมลงในขวดบีโอดี (ลบ.ซม.) BOD5, DO0,และ DO5 มีหน่วย mg/l

การวิเคราะห์หาค่าบีโอดีแบบเจือจาง
วิธีแบบโดยตรง (Direct Method) เหมาะสำหรับตัวอย่างที่มีความสกปรกน้อยที่มีค่าบีโอดีไม่เกิน 7 มก./ลิตร เช่น น้ำธรรมชาติจากแม่น้ำลำคลองที่สะอาด วิธีนี้ไม่ต้องทำให้ตัวอย่างเจือจางด้วยน้ำกลั่น นำตัวอย่างน้ำหาค่าบีโอดีโดยตรงเลย  วิธีแบบเจือจางใช้สำหรับตัวอย่างที่มีความสกปรกมาก เช่น มีค่า บีโอดี เกิน 7 มิลลิกรัม/ลิตรเนื่องจากปริมาณของออกซิเจนที่ใช้ไปในการย่อยสลายสารอินทรีย์จะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับจำนวนสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำมันนั้น เมื่อตัวอย่างน้ำมีสารอินทรีย์จำนวนมาก จึงต้องเจือจางตัวอย่างเพื่อให้มีออกซิเจนเพียงพอที่แบคทีเรียจะใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์นั้น
วิธีแบบเจือจางจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
ก.    ไม่ต้องการเติมหัวเชื้อ (No Seeding)
ข.    ต้องการเติมหัวเชื้อ  (Seeding)
วิธีแบบไม่ใช้หัวเชื้อเหมาะสำหรับตัวอย่างน้ำเสียหรือน้ำทิ้งทั่วไปซึ่งมีจุลินทรีย์พอเพียงและมีพีเอชที่เหมาะสมสำหรับการย่อยสลายทางชีวภาพ ตัวอย่างน้ำจะต้องไม่ผ่านการเติมคลอรีนหรือความร้อนมาก่อนวิธีแบบนี้ใช้หัวเชื้อเป็นวิธีที่ใช้สำหรับตัวอย่างน้ำที่ไม่มีแบคทีเรียอยู่เลยหรือมีปริมาณน้อยมากและไม่ Active จำเป็นที่จะต้องหาแบคทีเรียจากที่อื่นมาช่วยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำชนิดนั้นๆ น้ำทิ้งที่เป็นกรดหรือด่างสูงต้องปรับพีเอชเป็นกลางก่อนจึงใสหัวเชื้อ น้ำทิ้งที่มีอุณหภูมิสูง น้ำทิ้งผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนซึ่งต้องกำจัดก่อน(ดูหัวข้อ จ.) แล้วค่อยเติมหัวเชื้อบางกรณีน้ำเสียบางชนิดมีสารพิษแบคทีเรียไม่สามารถอยู่ได้ ถ้าหัวเชื้อไปโดยตรงแบคทีเรียจะตาย จำเป็นที่จะต้องเลี้ยงแบคทีเรียให้คุ้นเคยกับตัวอย่างน้ำที่มีสารพิษก่อน แล้วจึงนำมาให้หัวเชื้อต่อไป แหล่งหัวเชื้อหาได้จากน้ำโสโครกจากบ้านเรือน น้ำทิ้งของระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพหรืออาจเตรียมขึ้นเองในห้องปฏิบัติการ

ในการทดลองที่ 3 การวิเคราะห์หาค่า BOD ในน้ำดี  ( Biochemical  Oxygen  Demand  Test ) การทดลองนี้มี 2 ตอน  คือ
          ตอนที่ 1 การหาปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (Dissolved Oxygen, DO หรือ DO0) 
ตอนที่ 2 การหาค่า BOD ในน้ำดี (Biochemical  Oxygen  Demand หรือ DO5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น