วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Biochemical Oxygen Demand Test 7



ตอนที่ 2 การหาค่า BOD ในน้ำดี (Biochemical  Oxygen  Demand หรือ DO5)  

วัตถุประสงค์ 
1.    เพื่อศึกษาปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายแบคทีเรีย
2.    เพื่อศึกษาปริมาณสารอินทรีย์ปนเปื้อนในน้ำ

บทนำ
               บีโอดี (BOD) บอกถึงความต้องการออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน  จากกระบวนการนี้จุลินทรีย์จะได้รับพลังงานเพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโต  ผลผลิตสุดท้ายของการออกซิไดซ์สารอินทรีย์จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ  ค่าบีโอดีของน้ำจะบ่งบอกถึงปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำ  ถ้าค่าบีโอดีสูงแสดงว่ามีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่มาก  แต่ถ้าค่าบีโอดีต่ำแสดงว่ามีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่น้อย  ดังนั้นการวัดค่าบีโอดีจึงเป็นวิธีทางอ้อมในการตรวจวิเคราะห์หาระดับปริมาณสารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ  ความต้องการออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ  แบ่งออกเป็น 2 ช่วง  ดังภาพที่ 1
ภาพที่1 ค่าความต้องการใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์และสารประกอบไนโตรเจนจากสารอินทรีย์


          จากภาพที่ 1  ช่วงแรกเป็นการใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายคาร์บอนของสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์จำพวกเฮเทอโรโทรฟ(heterotrophy)  เรียกช่วงแรกนี้ว่า Carbonaceous  Biochemical  Oxygen  Demade (CBOD) ในช่วงนี้สารอินทรีย์จะถูกออกซิไดซ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  น้ำ  และแก๊สแอมโมเนีย
      สารอินทรีย์  +  O2                 CO2  +  H2O  +  NH3

ในช่วงถัดมาเป็นการใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารประกอบไนโตรเจนจากสารอินทรีย์ เช่น แอมโมเนียและไนไตรต์(NO ) ให้เป็นไนเตรต(NO ) โดยจุลินทรีย์จำพวกออโตโทรฟ(autotroph) เรียกช่วงนี้ว่า  Nitrogenous  Biochemical  Oxygen  Demand  (NBOD)
    2NH3  +  3O2           2NO   +  2H+  +  2H2O  +  2NO
              2NO   +  O2                 2NO  
          ในช่วงนี้ค่า  NBOD  จะเกิดขึ้นภายหลังจากการบ่มน้ำที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 6-10 วัน เนื่องจากว่าในระยะแรกๆปริมาณไนตริไฟอิงแบคทีเรีย  เจริญเติบโตได้ช้าจึงต้องใช้เวลาที่ต้องเพิ่มจำนวน  และภายหลังจากการบ่มเป็นเวลานาน 6-10 วัน  จะมีปริมาณของไนตริไฟอิงแบคทีเรียเพิ่มมากขึ้นจนทำให้เกิด NBOD
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น