วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Biochemical Oxygen Demand Test 13



2.2) หาปริมาตรน้ำกลั่นที่ใช้
ชั่งสาร   NaN3  10 กรัม  เติมน้ำกลั่นไป  40  มล.
ถ้าชั่งสาร NaN3  1 กรัม  ต้องเติมน้ำกลั่นไป =    = 4  มล.
          2.3) NaOH  500 กรัม
          สารละลายปริมาตร  1000  มล.   มี  NaOH  500 กรัม
ถ้าต้องการสารละลายปริมาตร  100  มล.   จะมี  NaOH  =     =  50    กรัม
ดังนั้น  ต้องชั่ง NaOH  มา  50   กรัม ทำการละลายแล้วปรับปริมาตรเป็น  100  มล.  
          2.4) NaI  135  กรัม
สารละลายปริมาตร  1000  มล.   มี    NaI  135  กรัม
ถ้าต้องการสารละลายปริมาตร  100  มล.   จะมี    NaI  =     =  13.5    กรัม
ดังนั้น  ต้องชั่ง    NaI  มา  13.5   กรัม ทำการละลายแล้วปรับปริมาตรเป็น  100  มล.  
3) การเตรียมสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต  0.025  N
วิธีคิด       ชั่งสาร     Na2S2O3.5H2O  3.10 กรัม  ละลายในน้ำกลั่น   เติม  NaOH  0.2 กรัม เติมน้ำกลั่นปรับปริมาตรจนครบ  500 มล.   แล้วนำสารละลาย  Na2S2O3 ไปหาความเข้มข้นที่แน่นอนโดยการเทียบกับสารละลายมาตรฐานโพแทสเซียมไอโอไดด์  (KI)  ซึ่ง  KI  มีวิธีการเตรียม  ดังนี้
             ชั่งสาร  KI   มา  2  กรัม  เติมน้ำกลั่น  150  มล.  ต่อไปเติมกรด  H2SO4  1:9   10 มล.  เติม K2Cr2O7  0.025  N   20 มล.  นำไปเก็บไว้ในที่มืด  5  นาที  นำมาเติมน้ำ  แล้วรับปริมาตรเป็น  200  มล. หลังจากนั้น นำ KI ที่ได้ ไปไทเทรตกับสารละลาย  Na2S2O3 ที่เตรียมไว้ข้างต้น โดยใช้สูตร

                   [Na2S2O3จริง]  = 
ในการไทเทรตครั้งนี้ ผู้ทดลองไทเทรตโซเดียมไธโอซัลเฟตได้เท่ากับ  21.5  มล.  นำมาหาค่าความเข้มข้นของโซเดียมไธโอซัลเฟต ได้เป็น

                   [Na2S2O3จริง]     =   
                                       =     0.026  N
          ดังนั้น  ความเข้มข้นของโซเดียมไธโอซัลเฟตที่เตรียมได้มีค่าเท่ากับ  0.026  นอมอล

4) การเตรียมน้ำแป้ง
วิธีทำ    นำแป้งมันมา  5  กรัม  ในน้ำ  800 มล.  เติมน้ำให้ได้  1000  มล.  นำไปต้มให้เดือด  2 – 3 นาที ตั้งค้างคืนไว้  จนแป้งตกตะกอน  ตวงเอาน้ำแป้งในส่วนที่ใสออกมา  เติม กรดซาลิไซลิก  1.25  กรัม ต่อน้ำแป้ง 1000  มล.

                                                               

Biochemical Oxygen Demand Test 12



วิจารณ์การทดลอง
          จากผลการทดลอง เห็นได้ว่าเมื่อเติม AIA 1.5 ml ลงไปในน้ำตัวอย่าง  น้ำตัวอย่างเกิดตะกอนเป็นสีขาวขุ่น ตั้งทิ้งไว้จนได้ตะกอน ¾ ของน้ำ  แล้วเติมกรดซัลฟิวริกเข้มข้นลงไป ตะกอนที่ละลายก็ยังคงให้เป็นสีขาวอยู่ นั่นแสดงหมายความว่า ในน้ำตัวอย่างที่ทำการทดลองไม่มีออกซิเจนเหลืออยู่เลย เนื่องจากจุลินทรีย์ได้นำออกซิเจนไปใช้ย่อยสลายแบคทีเรียจนหมด จึงไม่สามารถนำน้ำตัวอย่างไปทำการไทเทรตได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำตัวอย่างที่นำมาทำการทดลองมีสภาพที่ไม่ดี อาจเป็นน้ำเน่าเสีย
            ดังนั้น ค่า BOD ที่ได้จึงมีค่าดังนี้     จาก     BOD = DO0 – DO5
                                แทนค่า                    BOD = 2.240 – 0.000
                                                                   = 2.240   หรือประมาณ  2  mg/ml
          จะได้ว่า   ค่า BOD ในน้ำดี ได้เท่ากับ 2.00 mg/ml

การวิเคราะห์ข้อมูล
          การเตรียมสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง การหาค่า BOD ในน้ำดี มีดังนี้
1)  สารละลายแมงกานีสซัลเฟต
          จากสารละลายแมงกานีสซัลเฟต (MnSO4.H2O)  364 กรัม ในน้ำกลั่นปริมาตร  1000 มล.
เมื่อต้องการสารละลายแมงกานีสซัลเฟตเพียง  100 มล.  ต้องชั่ง MnSO4 มาเท่าไร
วิธีทำ
                             จากสูตร      g  =   
                   แทนค่า                  g  = 
                                                          =  36.4  g  
ดังนั้น  ต้องชั่ง MnSO4  มา  36.4  กรัม  ทำการละลายแล้วปรับปริมาตรเป็น  100  มล.  
2)    สารละลาย Alkali – iodine  azine หรือ AIA
          Alkali – iodine  azine หรือ AIA ต้องเตรียมจากสาร NaN3  10 กรัม ในน้ำกลั่น 40 มล.  NaOH  500 กรัม และ  NaI  135  กรัม ที่ปริมาตร 1000 มล.
วิธีคิด   โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์
          2.1) NaN3  10  กรัม ในน้ำกลั่น  40 มล.  
          สารละลายปริมาตร  1000  มล.   มี  NaN3  10  กรัม
ถ้าต้องการสารละลายปริมาตร  100  มล.   จะมี  NaN3  =     =  1     กรัม
ดังนั้น  ต้องชั่ง NaN3 มา 1   กรัม ทำการละลายแล้วปรับปริมาตรเป็น  100  มล.  

Biochemical Oxygen Demand Test 11



บทที่ 4
สรุปผลการทดลอง

จากการทดลอง การหาค่า บีโอดี ในน้ำดี  ทั้งสองตอนเป็นดังนี้
สรุปผลการทดลองตอนที่ 1การหาปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำDO หรือ DO0 
          จากการทดลอง การหาค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำหรือ DO0 ได้ผลการทดลองดังนี้ ทดลองครั้งที่ 1 เมื่อเติมสารเคมีแล้วทำการไทเทรต หลังเติมน้ำแป้งน้ำตัวอย่างเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นใส ไม่มีสี ที่ปริมาตรโซเดียมไธโอซัลเฟตใช้ไปเท่ากับ 1.90 ml  ครั้งที่ 2 เมื่อเติมสารเคมีแล้วทำการไทเทรต หลังเติมน้ำแป้งน้ำตัวอย่างเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นใส ไม่มีสี ที่ปริมาตรโซเดียมไธโอซัลเฟตใช้ไปเท่ากับ 2.50 ml และ ครั้งที่ 3 เมื่อเติมสารเคมีแล้วทำการไทเทรต หลังเติมน้ำแป้งน้ำตัวอย่างเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นใส ไม่มีสี ที่ปริมาตรโซเดียมไธโอซัลเฟตใช้ไปเท่ากับ 2.40 ml เฉลี่ยได้เท่ากับ 2.266 ml และนำไปหาค่าออกซิเจนละลาย ได้เท่ากับ 2.33 mg/ml

วิจารณ์การทดลอง
          จากผลการทดลอง พบว่า ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำหรือ DO0 ที่ได้จากการทดลองนั้นค่อนข้างน้อยถึงน้อยมาก เนื่องจากน้ำที่นำมาทำการทดลองนั้น มีพืชจำพวก จอก แหน ปกคลุมผิวน้ำเป็นจำนวนมาก น้ำไม่ได้รับแสงอาทิตย์ จึงมีปริมาณออกซิเจนเป็นจำนวนน้อยทั้งทั้งๆที่น้ำนั้นดี ไม่เน่าเสียแต่อย่างใด เพราะเหตุนี้จึงทำให้ผลการทดลองได้ไม่ตรงตามความพึงพอใจมากนัก ปริมาณของออกซิเจนที่ควรมีในน้ำ จะอยู่ที่ประมาณ 6.00 – 8.70 mg/ml จึงจะถือว่าน้ำนั้นดี และเมื่อนำไปทำการทดลองก็จะได้ผลการทดลองที่ใกล้เคียงกับข้อมูลจริง
           
สรุปผลการทดลองตอนที่ 2  การหาค่า  BOD ในน้ำดี
          จากการทดลอง การหาค่า BOD ในน้ำดีหรือ DO5  น้ำตัวอย่างที่ผ่านกระบวนการบ่มที่อุณหภูมิ
200 C เป็นเวลา 5 วัน พบว่าเมื่อเติม AIA 1.5 ml ลงไปในน้ำตัวอย่างทั้ง 3 ครั้ง น้ำตัวอย่างเกิดตะกอนเป็นสีขาวขุ่นเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถนำไปทำการไทเทรตต่อได้ เนื่องจากในน้ำตัวอย่างไม่มีออกซิเจนเหลืออยู่เลย จึงมีค่าการทดลองเป็นศูนย์