วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

โครงสร้างอะตอม-1 (รวบรวมใหม่)


อะตอม(Atom)
ประวัติอะตอม(History of Atoms)
          ตั้งแต่สมัยโบราณนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติของสสารเรื่อยมา จนถึงปัจจุบันนี้จากอุดมการณ์  ความคิด และการสะสมประสบการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาและเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสสาร โดยคำนึงถึงโครงสร้างของสสารนั้นๆ  จากนั้นต่อมาได้เริ่ม      ก่อรูปร่างขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 19  ด้วยทฤษฏีของนักวิทยาศาสตร์หลายๆท่านด้วยกัน จนกระทั่งพบว่าสสารนั้นประกอบไปด้วย อะตอม  โมเลกุล  และไอออน
เมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสตศักราช เดโมคริส  นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ได้นำเสนอแนวคิดแรกเกี่ยวกับอะตอม  ต่อมาได้มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านด้วยกันที่ได้เล็งเห็นความสำคัญ และให้ความสนใจในเรื่องของอะตอม  จึงได้ทำการทดลองอย่างหลากหลายวิธี โดยมีความสัมพันธ์กันไปอย่างต่อเนื่อง  จากนั้นพบว่าอะตอมแต่ละอะตอมนั้นมีรูปร่างที่แตกต่างกัน ผลจากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์หลายๆท่าน  ได้ให้ข้อมูลและอธิบายรูปร่างโครงสร้างของอะตอมอย่างลึกซึ้ง แต่ไม่ได้เหมือนกันมากนักเพียงแต่มีความสัมพันธ์กันบ้างเท่านั้น  แต่ที่สรุปได้คลายคลึงกันมากนั้นก็คือ  อะตอมมีรูปร่างลักษณะคล้ายทรงกลม  ภายในบรรจุอนุภาคมูลฐานซึ่งประกอบไปด้วย  โปรตอน(ประจุบวก)  นิวตรอน  และอิเล็กตรอน(ประจุลบเราสามารถจำแนกและเรียงลำดับความสำคัญของอะตอมจากผลการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ได้ดังนี้
               

   

บทที่  1  โครงสร้างอะตอมของดาลตัน






ที่มา : http//commons.wikimedia.org

วันที่เกิด         
          : วันที่ 6 เดือน กันยายน พ.ศ. 2309
สถานที่เกิด      
          : อีเกิลส์ฟิลด์ คัมเบอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ
วันที่เสียชีวิต    
          : 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 (77 ปี)
          แมนเชสเตอร์  ประเทศอังกฤษ
งานที่เป็นที่รู้จัก

                      ลายเซ็น
John Dalton


1.1 ชีวประวัติของจอร์น ดาลตัน
ดาลตันเกิดในฤดูหนาวในประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2309  บิดาและมารดาเป็นคนในนิกายแควกเกอ โดยบิดาประกอบอาชีพทอผ้า เมื่อดาลตันเติบโตมาเป็นหนุ่มเขาเป็นเด็กชายที่มีสุขภาพแข็งแรง มีความอดทนและมีความคิดที่สร้างสรรค์ ช่างขี้สงสัย เมื่อครูให้ทำงานยากๆ ดาลตันจะไม่ยอมแพ้หรือขอให้ครูบอกคำตอบ แต่เขาจะทำด้วยตัวเองให้ได้ บางครั้งก็มีการพนันกับเพื่อนในเรื่องของการทำงานในวิชาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเดี่ยวหรือแม้แต่งานกลุ่มก็ตาม ดาลตันสามารถทำงานได้อย่างคล่องแคล่วและมีความอดทน
จนกระทั่งดาลตันอายุครบ 12 ปี และมีความรู้ ความสามารถ ที่พอจะเป็นครูสอนหนังสือได้แล้ว ดาลตันจึงได้ปิดประกาศไว้ที่หน้าบ้านของตนว่า รับจ้างสอนหนังสือ พร้อมกับแจกกระดาษ ปากกาและหมึกฟรี สมัยนั้นกระดาษ ปากกา และหมึกหายากที่สุดในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีผู้คนสนใจมาเรียนกันมากมายตั้งแต่เด็กๆจนอายุ 17 ปีก็ยังมี ดาลตันจึงได้เปลี่ยนแนวความคิดโดยใช้บ้านของตนเป็นโรงเรียน โรงเรียนได้ดำเนินการเรียนการสอนไปด้วยดี แต่เมื่อดาลตันอายุ 15 ปี เขาก็หันมาเข้าหุ้น ทำกิจการร่วมกับพี่ชายที่เปิดโรงเรียนอยู่แล้ว
สองพี่น้องได้นำเอาวิชาเทคนิคไปสอนในโรงเรียน เพื่อหารายได้เพิ่มมากขึ้น แม้แต่ช่วยชาวเมืองในการดำเนินกิจการ รวมทั้งการเขียนมรดกให้ด้วยปากกาในสมัยนั้นการเขียนมรดกหรือพินัยกรรมมีอานุภาพมาก  นอกจากนี้ดาลตันได้หันมาทำนายดินฟ้าอากาศเพื่อเพิ่ม ความรู้ทางลมฟ้าอากาศให้แก่ชาวนา ในทุกๆวันของดาลตัน  เขาต้องคอยสังเกตลมฟ้าอากาศเกือบทุกๆชั่วโมงเป็นกิจวัตรที่ทำติดต่อกันมาเป็นเวลา 57 ปีจนเสียชีวิต เขาใช้เครื่องมือหยาบๆ ที่ทำเองที่บ้าน ทำการวัดปริมาณน้ำฝน ในท้องที่ที่ฝนตกทุกวัน และได้ขายเครื่องมือเหล่านี้ให้แก่ชาวนา เพื่อต้องการให้ชาวบ้านได้ช่วยสังเกตดินฟ้าอากาศร่วมกันด้วย
ต่อมาได้มีการเผยแพร่แนวความคิดของดาลตันขึ้นมา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ ปรัชญาอันได้มาจากการสังเกตของดาลตัน ประกอบด้วยเรื่อง กฎของการเคลื่อนไหว สี ลม เสียง พระจันทร์ที่ขึ้นในเวลาเดียวกัน จันทรุปราคา ดาวพระเคราะห์และ น้ำขึ้นน้ำลง แต่การเผยแพร่ครั้งนี้ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากชาวบ้าน ประชาชนที่รู้จักกับดาลตันไม่มีความกระตือรือร้นอยากที่จะรู้ หรืออยากที่จะลอง เช่นเดียวกันกับหนังสือไวยากรณ์ ซึ่งสอนในเรื่องการผูกประโยคอังกฤษที่เขาเป็นคนเขียน ก็ขายได้จำนวนน้อย
วันหนึ่ง ดาลตันซื้อถุงมาให้แก่มารดา มารดาของเขารู้สึกยินดีที่ได้รับของชิ้นนี้มากและในเวลาเดียวกัน ก็รู้สึกฉงนใจด้วยจึงเอ่ยถามดาลตันว่า "แกซื้อของถุงมาให้แม่น่ะดีทีเดียว แต่นึกยังไงถึงเอาอย่างสีแจ๊ดมาเล่า"  ดาลตันตอบกลับไปว่า "นี่แหละเป็นสีที่เหมาะสำหรับเอาออกสังคม ก็มันไม่ใช่สีน้ำเงินแก่ที่รักษามารยาทเหรอ"  จอห์น ดาลตันเขาเจอเหตุการณ์แนวนี้หลายครั้งจนเขาได้จัดตั้งทฤษฎีอธิบาย และปรากฏการณ์เช่นนี้ขึ้น ซึ่งที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่าตาบอดสี นั่นเอง
ดาลตันเข้าไปมีส่วนร่วมในการทดสอบความรู้ ในด้านของเคมี ซึ่งบรรดานักเคมีในสมัยนั้นก็ยังไม่สามารถจับหลักในการแปรผัน ของส่วนผสมของเครื่องยาเคมีต่างๆได้ การค้นพบหลักเช่นนี้ ทำให้ดาลตันต้องใช้ความพยายามอย่างมาก และความคิดอันสำคัญยิ่งก็ปรากฏในสมองของเขาทีละน้อยๆ โดยอาศัยความรู้ทางด้านฟิสิกส์มาช่วยเพิ่มเติม
จอห์น ดาลตันเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ (Manchester) ประเทศอังกฤษเนื่องด้วยสาเหตุใด มิอาจระบุได้



 
1.2 แบบจำลองอะตอมของจอร์น   ดาลตัน

แบบจำลองอะตอม
ที่มา : www.proton.rmutphysics.com

          แบบจำลองอะตอม คือมโนภาพที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น จากข้อมูลทีได้จากการทดลอง  เพื่อใช้อธิบาย ลักษณะของอะตอม  แบบจำลองอะตอมที่สร้างขึ้นสามารถปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ  ถ้ามีผลการทดลองใหม่ๆเกิดขึ้น ซึ่งแบบจำลองอะตอมเดิมอธิบายไม่สามารถได้ทั้งนี้  นักวิทยาศาสตร์จึงเสนอแบบจำลองอะตอมใหม่ขึ้นมาให้สอดคล้องกับผลการทดลอง  ดังนั้นจึงพบ
ว่าแบบจำลองอะตอมได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยมานับตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึง ณ ปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2346  จอห์นดาลตัน  ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับอะตอม  มีข้อความสำคัญสรุปได้ดังนี้ 
-         สารประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก  เรียกว่า  อะตอม  แบ่งแยกไม่ได้  จะสร้างขึ้นใหม่หรือทำลายให้สูญหายไปไม่ได้
-         อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีมวลเท่ากัน  มีสมบัติเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันจากอะตอมของธาตุอื่น
-         สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป  และมีอัตราส่วนการรวมตัวเป็นตัวเลขง่ายๆ
-         อะตอมของธาตุ 2 ชนิดอาจรวมตัวกันด้วยอัตราส่วนต่างๆกัน  เกิดเป็นสารประกอบได้หลายชนิด

ในสมัยต่อมา ได้มีการทดลองทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมเพิ่มมากขึ้น  จึงมีการค้นพบใหม่บางประการที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดของดาลตัน  ดังนี้ 
1.    พบว่าอะตอมประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ ซึ่งอยู่ภายในอะตอม  ได้แก่  อิเล็กตรอน  โปรตอน  นิวตรอน
2.    พบว่าอะตอมสร้างขึ้นใหม่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลีย 
3.    พบว่าอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน  มีมวลต่างกัน  ซึ่งเรียกแต่ละอะตอมว่า  ไอโซโทป 
4.    พบว่าปรากฏการณ์ที่เกิดในหลอดรังสีแคโทด  ใช้แนวคิดของดาลตันอธิบายไม่ได้
 
1.3 สรุปโครงสร้างอะตอมของจอห์นดาลตัน
          จากการศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลในเรื่องของโครงสร้างอะตอมของจอห์นดาลตัน   พบว่า โครงสร้างอะตอมของจอห์นดาลตันนั้นมีลักษณะเป็นทรงกลมตัน



การสกัดคาเฟอีน จากกาแฟ




ปฏิบัติการ การสกัดคาเฟอีนจากกาแฟ
Extraction of Caffeine from Coffee
วัน พฤหัสบดี    ที่  7   เดือน  กุมภาพันธ์   พ.ศ. 2556      




โดย

นางสาวณัฐพร       ขาวิราช       และคณะ
นักศึกษาสาขา เคมี   ระดับ คบ. 5/3




เสนอ
อาจารย์วิสิทธิ์       มนต์ทอง




รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา(4024306)เคมีของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
ปฏิบัติการ การสกัดคาเฟอีนจากกาแฟ
Extraction of Caffeine from Coffee
วัน พฤหัสบดี    ที่  7   เดือน  กุมภาพันธ์   พ.ศ. 2556      

โดย
นางสาวเยาวภา      สมฤทธิ์               รหัสนักศึกษา 53191410201
นายวิระทิน           ควรสุข                รหัสนักศึกษา 53191410216
นายศิริพงศ์           แสงทอง              รหัสนักศึกษา 53191410219
นายเสกสรร          สุขตัน                 รหัสนักศึกษา 53191410222
นางสาวสุมาตรา     ศิลาชัย                รหัสนักศึกษา 53191410230
นางสาวสุมาพร      ดวงทอง              รหัสนักศึกษา 53191410231
นายสุรชัย             เอี่ยมสุข               รหัสนักศึกษา 53191410232
นางสาวอรวรรณ     รัมพณีนิล             รหัสนักศึกษา 53191410241
นางสาวไอลดา       ศรีดา                 รหัสนักศึกษา 53191410242
นางสาวณัฐพร       ขาวิราช               รหัสนักศึกษา 53191410249
นักศึกษาสาขา เคมี   ระดับ คบ. 5/3


เสนอ
อาจารย์วิสิทธิ์       มนต์ทอง


รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา(4024306)เคมีของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์


..................................................................
แบบบันทึกผลการทดลอง
ปฏิบัติการ การสกัดคาเฟอีนจากกาแฟ

วัน พฤหัสบดี    ที่  7   เดือน  กุมภาพันธ์   พ.ศ. 2556      เวลา  08:20 - 17:45 น.
สมาชิกกลุ่ม

ผู้ควบคุม   อาจารย์วิสิทธิ์  มนต์ทอง    และ นายศักดิ์ชัย  ขาวงาม 
.........................................................................................................................................................

ข้อมูลดิบ
ยี่ห้อกาแฟ    เนสกาแฟ                               ปริมาณที่ใช้   25   กรัม
สีของกาแฟ    สีน้ำตาลดำ                            ลักษณะ เป็นผงหยาบ  ขนาดเล็ก   กลิ่นฉุน












ตอนที่ 1 การแยกสารด้วยเทคนิค  TLC
ตารางที่ 1 ผลึกของคาเฟอีนที่ได้จากการแยกสารของกากกาแฟ
ผลึก
ลักษณะที่ได้
ก่อนตกผลึก
ของเหลว มีสีน้ำตาลค่อนข้างเข้ม แต่ใส  มีกลิ่นกาแฟเล็กน้อย
ผลึกคาเฟอีน
ผลึกสีน้ำตาลอ่อน คล้ายสีชา  ลักษณะเป็นแผ่นวงกลมแบน
หลังตกผลึก
ของเหลว สีขาว  ขุ่นเล็กน้อย






การคำนวณหาค่า Rf ของคาเฟอีน
                จากสูตร


                                     Rf         =       ก่อนตกผลึก+ตกผลึก+หลังตกผลึก
                                                                     3.8  cm
=       2.9 + 2.8 + 2.6
                                                               3.8  cm
                                                =    0.72
                                       
สรุปผลการทดลอง
          จากการทดลอง  พบว่า เมื่อนำกาแฟไปต้ม ผ่านกรรมวิธีทางเคมีจนกระทั่งนำไปกรองและทำการตกผลึก ลักษณะของผลึกคาเฟอีนที่ได้ เป็นผลึกที่มีสีน้ำตาลอ่อนคล้ายสีชา ลักษณะเป็นแผ่นกลมแบนบางๆ และสารที่ได้ก่อนการตกผลึกมีลักษณะเป็นของเหลวมีสีน้ำตาลค่อนข้างเข้ม แต่ใส  มีกลิ่นกาแฟเล็กน้อย และสุท้ายคือสารหลังจากการตกผลึกแล้วโดยผ่านการกรองมีลักษณะของเหลว สีขาว  ขุ่นเล็กน้อย  และเมื่อนำสารที่ได้จากการกรองและตกผลึกแล้วไปแยกสารด้วยเทคนิค TLC  จากแผ่น TLC  เมื่อนำไปแช่ในตัวดูดซับที่ใช้ระบบปิดโดยแช่ไดคลอโรมีเทน : เมทานอลที่อัตราส่วน 3:7 เราจะเห็นได้ว่าก่อนตกผลึกมีการเคลื่อนตัวได้เร็วกว่าผลึกและหลังตกผลึก ซึ่งผลึกคาเฟอีนของเราอยู่ตำแหน่งตรงกลางมีการเคลื่อนตัวค่อนข้างจะใกล้เคียงกับหลังตกผลึก และมีค่า Rf  เท่ากับ 0.72


อภิปรายผลการทดลอง
          จากทฤษฎีสารที่ต้องการแยกมาละลายในตัวทำละลายที่เหมาะสมแล้วให้เคลื่อนที่ไปบนตัว ดูดซับ  การเคลื่อนที่ของสารบนตัวดูดซับขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายของ สารแต่ละชนิดในตัวทำละลาย  และความสามารถในการดูดซับที่มีต่อสารนั้น  กล่าว คือ  สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดี  และถูกดูดซับน้อยจะถูกเคลื่อนที่ออกมา ก่อนนั่นคือสารก่อนตกผลึก  ส่วนสารที่ละลายได้น้อยและถูกดูดซับได้ดี  จะเคลื่อนที่ออกมาที หลังนั่นคือ สารของผลึกคาเฟอีนและสารหลังตกผลึกเมื่อคำนวณหาค่าRf มีค่าเท่ากับ 0.72  หากสารมีความสามารถในการละลายสูงจะมีค่า Rf มาก เนื่องจากตัวทำละลายจะเคลื่อนที่เร็วกว่าสารที่จะแยก ค่า Rf < 1 เสมอ ถ้าใช้ตัวทำละลายและตัวดูดซับชนิดเดียวกันปรากฏว่ามีค่า Rf เท่ากัน


ตอนที่ 2 การหาอนุพันธ์ของ Caffeine Salicylate ด้วยเครื่อง Melting point
ตารางที่ 2 จุดหลอมเหลวของ Caffeine Salicylate
Man.
Temp (C )
1
162.1
2
162.3
3
162.4
Average
162.27

การหาช่วงอุณหภูมิของ Caffeine Salicylate ด้วยเครื่อง Melting point
ค่าหลอมเหลวของ Caffeine Salicylate หาช่วง  Temp  แสดงผลของ Caffeine Salicylate เริ่มต้น



โดยตั้งค่า 
Setpoint : 400  °C   
Gradient : 1 °C 
Maxpoint :  410  °C


 ค่าที่ได้
1.                   156.8
2.                   163.6
3.                   165.8

X  =156.5+163.6+165.8   = 162.06 °C  
                 3




นี่คือจุดหลอมเหลวเท่ากับ  162.06  °C   ของคาเฟอีนที่ประมาณค่าได้
หลังจากนั้นนำไปตั้งค่า  Setpoint  และ  Maxpoint   เพื่อหาจุดหลอมเหลวของคาเฟอีนที่แน่นอน
โดยมีการคำนวณหาค่าของความคลาดเคลื่อนของจุดหลอมเหลวของคาเฟอีนที่ใช้ในช่วงของ Setpoint  และ  Maxpoint  ที่แน่นอนโดย  +15   และ  -15  จะได้ค่าดังต่อไปนี้

โดยตั้งค่า 
Setpoint :  157  °C  
Gradient :  1 °C 
Maxpoint : 172  °C


 ค่าที่ได้
1.       162.1
2.       162.3
3.       162.4

X  =162.1+162.3+162.4   = 162.3 °C  
                                                      3







ดังนั้น ค่าจุดหลอมเหลวที่แน่นอนของผลึก Caffeine Salicylate อยู่ที่  162.3 °C  














นำมาแสดงโดยกราฟได้ดังนี้


สรุปผลการทดลอง
          จากการทดลองพบว่า ลักษณะของผลึก Caffeine Salicylate มีสีขาว เป็นคล้ายผงขนาดเล็กๆและเมื่อนำไปหาจุดหลอมเหลวที่แน่นอนของผลึก Caffeine Salicylate อยู่ที่  162.3  องศาเซลเซียส หลังจากที่ได้ทำการคำนวณหาช่วงอุณหภูมิที่แน่นอนดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จะเห็นได้ว่าค่าของ Setpoint อยู่ที่ 157  องศาเซลเซียส และ Maxpoint อยู่ที่  172  องศาเซลเซียส ดังกระดาษข้างต้น


อภิปรายผลการทดลอง
จากการทดลอง ในการศึกษาผลึกของคาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟ ซึ่งในการทดลองครั้งนี้เลือกใช้กาแฟ
เนสกาแฟพบว่ากาแฟที่ใช้ทั้งหมด 25 กรัม ให้ผลึกคาเฟอีนค่อนข้างปริมาณมากซึ่งผลึกของคาเฟอีนมีลักษณะสีชา หรือสีน้ำตาลอ่อนๆนั่นเองทั้งนี้อาจเป็นเพราะสีของกาแฟจึงทำให้ผลึกมีสีเมื่อนำไปทำการเตรียมอนุพันธ์เพื่อหาจุดหลอมเหลวพบว่า จุดหลอมเหลวของคาเฟอีนซาลิไซเลตเฉลี่ยแล้วมีค่าเท่ากับ 162.3 องศาเซลเซียส
ซึ่งตามทฤษฎีแล้วจุดหลอมเหลวของคาเฟอีนจะอยู่ที่ 178 องศาเซลเซียส จากการทดลองจุดหลอมเหลวมีค่าแตกต่างกับผลึกคาเฟอีนตามทฤษฎีอยู่ประมาณ 15.7 องศาเซลเซียส





ปัญหาและอุปสรรค์ในการทดลอง
1.                                           จากการทดลองมีขั้นตอนที่ต้องเขย่าสารละลายกาแฟเพื่อให้ได้ส่วนของสารละลายที่จะนำไปตกผลึก
ต่อไปเกิดอิมัลชัน สาเหตุมาจากผู้จัดทำได้ทำการเขย่ากรวยแยกแรงเกินไป จึงทำให้เกิดอิมัลชันขึ้นทำให้เสียเวลาในการกรองเป็นอย่างมาก
2.                                          ในการแยกสารเมื่อสารละลายแยกชั้นแล้ว ผู้จัดทำได้ทำการทดลองพลาด คือ ปล่อยสารในส่วนที่ไม่
ต้องการออกมาด้วยจึงต้องทำการแยกสารใหม่อีกครั้ง อันเป็นเหตุทำให้การทดลองล่าช้าและใช้เวลามากกว่าปกติ

วิธีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค์ในการทดลอง
1.       1. ไม่ควรเขย่าสารละลายแรงเมื่อต้องการแยกสารนั้นๆออก ด้วยกรวยแยก
2.       2.  ควรปล่อยสารละลายที่แยกชั้นออกมาจากกรวยกรองอย่างช้าๆ และทีละเล็กน้อย

































ภาคผนวก



















ภาพการทดลองการแยกสารด้วยเทคนิค TLC

        


            


           
                               

ภาพการหาจุดหลอมเหลวของคาเฟอีนซาลิไซเลต