วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Idealism


Idealism  
ปรัชญาจิตนิยมที่นักคิดมุ่งแสวงหาคำตอบภายใน  จิตมนุษย์ (mind) มากกว่าโลกภายนอก มี  3  กลุ่ม  ได้แก่ 
(1)  จิตนิยม  แนวเบิร์กเลย์  (Berkeleian idealism)   ตามหลักการวิเคราะห์ของเบิร์กเลย์      
(2)  จิตนิยมการบรรลุเหนือพ้น  (Transcendental Idealism) ของค้านท์  
(3) จิตนิยม (Objective Idealism)  ที่อธิบายว่าสิ่งทั้งหลายดำรงอยู่ในรูปแบบของจิตหนึ่ง  (a form  of one mind)
๑.  จิตนิยม (Idealism)
               เป็นความเชื่อเก่าแก่ที่สุดของปรัชญาเริ่มมีมนุษย์ สามารถเข้าใจปรากฏการณ์ของธรรมชาติมีความเชื่อว่า ธาตุอันดำรงอยู่อย่างแท้จริงมีลักษณะเป็นวิญญาณ เป็นแนวความคิดที่ได้มาจาก จอร์จ เบริคเลย์ (George Berkley) ปรับปรุงแนวความคิดของประจักษ์นิยมเป็นจิตนิยมเชิงอัตวิสัย (Subjective Idealism) สสารที่ล็อกพูดถึงเป็นเพียงการรวมตัวของคุณสมบัติแท้และคุณสมบัติประกอบเข้าด้วยกัน แท้จริงเป็นเพียงสิ่งที่จิตรับรู้หรือเห็นว่ามีอยู่เท่านั้น สิ่งทั้งหมดเป็นเพียงภาวะจิตรับรู้ มิได้มีอยู่อย่างแท้จริง ที่เห็นว่าสิ่งภายนอกทั้งหมดมิได้มีอยู่อย่างแท้จริง จึงเรียกว่าจิตนิยมเชิงอัตวิสัย ไม่ยอมรับว่าคุณสมบัติที่แท้จริงของวัตถุ เช่น การกินเนื้อที่กับคุณสมบัติประกอบของวัตถุ เช่น สี ของวัตถุเป็นคนละสภาวะ เพราะทั้งสองอย่างต่างก็เป็นเพียงการรับรู้ของจิต และสสาร (วัตถุ) หรือสิ่งที่อยู่เหนือการรับรู้เป็นความเพ้อฝัน เพราะจะยอมรับความมีอยู่ของสิ่งที่อยู่เหนือการสัมผัสได้อย่างไร สิ่งที่ขึ้นอยู่กับการรับรู้มีสภาพเป็นจิตหรือสิ่งที่จิตสร้างขึ้นทั้งหมด จิตนิยมเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญแก่ความคิดมากกว่าข้อเท็จจริง จิตนิยมแบ่งออกเป็น ๓ สาขา
                  ๓.๑  จิตนิยมเชิงอัตวิสัย (Subjective Idealism) เชื่อว่าสิ่งที่เรารู้ทั้งปวงขึ้นอยู่กับจิตตัวเอง นักปรัชญา คือ จอร์จ เบริคเลย์
                  ๓.๒  ปรากฏกาณ์นิยม (Phenomenalism) เชื่อว่าความรู้ที่เป็นไปได้นั้น คือ ควมรู้ที่เกี่ยว กับปรากฏการณ์เท่านั้น วัตถุเป็นสิ่งเดียวกันกับปรากฏการณ์ความมีอยู่ของวัตถุ และคุณสมบัติของวัตถุจึงขึ้นอยู่กับผู้รับรู้ หรือการที่ถูกรู้ สิ่งที่ปรากฏในสภาพที่ปรากฏการณ์ของสิ่งนั้นนั่นเเอง คือวัตถุนั้นหรือสิ่งนั้น ความรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นหรือสิ่งนั้นเป็นความรู้ตรงและขึ้นอยู่กับการคิดของจิต นักปรัชญา คือ อิมมานูเอล คานท์
                 ๓.๓  จิตนิยมเชิงปรวิสัย (Objective Idealism) เชื่อว่าวัตถุทุกชนิดเป็นจริงด้วยตัวของมันเอง แต่ไม่เป็นอิสระจากจิตโดยสิ้นเชิง วัตถุมิได้เป็นอิสระจากจิต คือ ต้องมีจิตเป็นพื้นฐานในการรู้วัตถุ แต่ในขณะเดียวกันถ้าไม่มีจิตรับรู้วัตถุ วัตถุก็มีอยู่และอยู่อย่งที่มันเป็น นักปรัชญา คือ จอร์จ วิลเฮลมไฟร์ดริช เฮเกล

 ลัทธิที่เชื่อว่าจิตเท่านั้นเป็นความจริงขั้นสูงสุด วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตคิดขึ้น
 จิตนิยมมีทรรศนะร่วมกันว่าจิตมีความเป็นจริงสูงสุด

พฤติกรรมนิยม : Behaviorism






จอห์น บี.วัตสัน (John B. Watson, 1878-1958) คัดค้านการศึกษาจิตโดยใช้วิธีตรวจสอบตนเอง โดยให้ความเห็นว่าจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ จึงต้องศึกษาพฤติกรรมโดยใช้วิธีทดลอง และวิธีการอื่น ๆ ที่เป็นปรนัย เขาเห็นว่าไม่ควรไปศึกษา จิต”  “จิตสำนึกและจิตนาการเพราะไม่เป็นปรนัย เป็นการศึกษาในลักษณะที่เป็นเชิงปรัชญา เป็นสิ่งที่ไม่สามารถสังเกตได้

วัตสันนิยามจิตวิทยาว่าเป็นศาสตร์แห่งพฤติกรรม และพฤติกรรมต่าง ๆ สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน (เป็นปรนัย) ว่ามีสิ่งเร้า การตอบสนอง การสร้างนิสัย การผสมผสานนิสัยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็นต้น จุดมุ่งหมายของพฤติกรรมนิยมมีอยู่ว่า การให้สิ่งเร้าจะสามารถทำนายการตอบสนองได้ว่า คืออะไร ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาสะท้อนของร่างกายที่เกิดจากการถูกเคาะที่ใต้สะบ้าหัวเข่า ถ้าให้สิ่งเร้า (เคาะใต้สะห้าหัวเข่า) เข้าไป เราก็สามารถทำนายว่าจะเกิดการตอบสนองอะไรขึ้น (กระตุกปลายเท้า) และในทำนองเดียวกันถ้าเราเห็นปลายเท้ากระตุกอยู่เราก็สามารถทำนายได้ว่าเกิดจากการเคาะที่ใต้สะบ้าหัวเข่า เป็นต้น ถึงแม้ว่า สิ่งเร้าและการตอบสนองโดยทั่วไปของบุคคลจะไม่ใช่เกิดจากสิ่งเร้า หรือการตอบสนองเดี่ยว ๆ แก่เกิดจากสิ่งเร้าและการตอบสนองหลายอันก็ตาม แต่หลักการก็เหมือนกันกับกรณีที่เป็นปฏิกิริยาสะท้อนนั่นเอง วัตสันสรุปว่า จิตวิทยาเป็นศาสตร์ของ S-R (เมื่อ S คือสิ่งเร้าและ R คือการตอบสนอง) วิธีการศึกษาของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มี 4 วิธี คือ

1. การสังเกต ทั้งที่อยู่ภายใต้การควบคุมด้วยเครื่องมือต่าง ๆ และที่ไม่อยู่
2. การวางเงื่อนไขปฏิกิริยาสะท้อน
3. การรายงานด้วยวาจา
4. การทดสอบด้วยแบบทดสอบต่าง ๆ

โดยวิธีการวางเงื่อนไข วัตสันกล่าวว่า ถ้านำเด็กที่มีสุขภาพดีมาให้เขาสัก 12 คน ให้อยู่ในโลกที่เขาสร้างขึ้นเป็นพิเศษ เขาสามารถรับประกันได้ว่าจะฝึกเด็กคนใดก็ได้ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องใดๆ ก็ได้ เช่น หมอ นักกฎหมาย ศิลปิน ขโมย โดยไม่คำนึงถึงความสามารถแฝง แนวโน้มต่าง ๆ ความสามารถ และการเรียนรู้ของเด็กตลอดจนอาชีพและเชื้อชาติของบรรพบุรุษด้วยวิธีการรายงานด้วยวาจาเป็นวิธีที่น่าให้ความสนใจอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเราอาจจะเห็นว่าวิธีนี้เป็นอัตนัยเหมือนกับวิธีตรวจสอบตนเองซึ่งวัตสันปฏิเสธมาแล้ว ทำไมวัตสันจึงมาใช้วิธีนี้อีก เหตุผลที่เขาใช้วิธีนี้ในห้องทดลองเพราะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก เช่นในการทดลองเรื่องการวางเงื่อนไข ถ้าอยากทราบว่าผู้ถูกทดลองแยกความแตกต่างของสิ่งเร้าที่เรานำไปเร้าได้หรือไม่ เราอาจนำสิ่งเร้ามากระตุ้นแล้วถามว่าเป็นสิ่งเร้าอันเดิมหรือไม่ เราก็จะทราบได้ทันทีว่า เขาแยกออกหรือไม่ วัตสันอธิบายไว้ว่าการให้รายงานด้วยวาจาต่างจากวิธีตรวจสอบตนเองให้แง่ที่ว่า การตรวจสอบตนเองผู้ทำการทดลองเป็นผู้รายงานความรู้สึกคิดของตนออกมาส่วนวิธีการรายงานด้วยวาจาผู้ทดลองจะให้ผู้ถูกทดลองรายงานออกมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลของนักจิตวิทยา (ผู้ทดลอง) ต่อไป

นิยามของพฤติกรรมนิยมและการประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนรู้ : การเรียนรู้ในทัศนะของนักทฤษฎีพฤติกรรมนิยม หมายถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และสังเกตได้

ก. สมมุติฐาน และความเชื่อของทฤษฎี

1.
หลักการเรียนรู้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับพฤติกรรมทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นสัตว์ชนิดใดก็ตาม
2.
กระบวนการเรียนรู้สามารถศึกษาได้อย่างเป็นปรนัย (Objective) เมื่อศึกษาจากสิ่งเร้า (Stimuli) และการตอบสนอง (Response)
3.
จะไม่นำกระบวนการทางปัญญาภายใน (Internal Cognitive) มาศึกษา
4.
การเรียนรู้ดูจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นหลัก
5.
สิ่งมีชีวิตเกิดมาในสถานะว่างเปล่า
6.
การเรียนรู้ส่วนมากเกิดจากเหตุการณ์ของสิ่งแวดล้อมเป็นเหตุ
7.
ทฤษฎีที่มีประโยชน์สูงสุดนี้เผยแพร่ในวงการแคบๆ

ข. การนำหลักทฤษฎีพฤติกรรมนิยมไปใช้เพื่อการศึกษา เน้นการแสดงพฤติกรรม เช่น นักเรียนควรตอบสนองอย่างกระฉับกระเฉง มนุษย์มีแนวโน้มจะเรียนรู้มากที่สุด เมื่อพวกเขามีโอกาสเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การประเมินการเรียนรู้กระทำได้โดยวัดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น

ค. การฝึกและการปฏิบัติ (Drill and Practice) : การแสดงพฤติกรรมตามหลักสิ่งเร้า การตอบสนองมากๆจะทำให้เกิดพฤติกรรมถาวรยิ่งขึ้น

ง. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสามารถทำได้โดยการนำเสนอสิ่งเร้าจนกระทั่งผู้เรียนเหนื่อยล้าเกินกว่า
จะตอบสนองในลักษณะพฤติกรรมธรรมดา วิธีการเช่นนี้อาจเรียกว่า การทำให้อ่อนล้า” (Exhaustion Method) หรือการลดสิ่งเร้าลง ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ว่าไม่จำเป็นต้องแสดง
พฤติกรรมการตอบสนองตามปกติ เรียกวิธีเช่นนี้ว่า วิธีการจำกัดขอบเขต” (Threshold Method) และวิธีสุดท้าย การนำเสนอสิ่งเร้าที่ไม่สอดคล้องเพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่

จ. การให้รางวัล : เน้นการให้รางวัลเพื่อการแสริมแรง (Reinforcement) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ภารกิจ (Task)

ให้นักศึกษาอ่าน ศึกษาและเลือกประวัติของนักทฤษฎีพฤติกรรมนิยมจาก URLที่กำหนดเพื่อศึกษามโนทัศน์พื้นฐาน และองค์ประกอบสำคัญของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
สารสนเทศโดยย่ออ่านได้จากขั้นตอน กรรมวิธี (Process) รวมทั้ง Web Resources และ Concept Maps ในขั้นแหล่งทรัพยากร (Resources) และตัวอย่างการเรียนรู้ (Learning Examples) และแบบตรวจเช็คเพื่อการสังเกตในการประเมิน (Evaluation) และการสรุปความ บรรณานุกรมในขั้นสรุป

กรรมวิธี (Process) : ประวัติ และทฤษฎีของนักพฤติกรรมนิยม

¨ E.L.Thonndike
¨ I.P.Pavlov
¨ J.B.Watson
¨ C.I.Hull
¨ A.I.Gates
¨ J.M.Stephens
¨ E.R.Guthrie
¨ W.K.Estes
¨ B.F.Skinner
¨ K.W.Spence
¨ R.M.Gagne
¨ A.Bandura

ก. องค์ประกอบ หลักการสำคัญ

¨ Classical Conditioning Model


แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (Resources)

พฤติกรรม ¨ URL
¨ Operant Conditioning Mode



Concept Map

การเสริมแรง VS การลงโทษ

การเสริมแรง
รื่นรมย์
ไม่รื่นรมย์
¨
นำเสนอหลังการตอบสนอง
¨
ทางบวก
¨
เสริมแรง
(
การตอบสนองเพิ่ม)
¨
ลงโทษ I
(
การตอบสนองลดลง)
¨
ยกเลิกหลังการตอบสนอง
¨
ลงโทษ II
(
การตอบสนองลดลง)
¨
การเสริมแรงทางลบ
(
การตอบสนองเพิ่ม)

Operant & Classical Conditioning

เงื่อนไขแบบคลาสสิก
เงื่อนไขแบบโอปะแร้นท์
เกิดเมื่อ¨ มีการเสนอสิ่งเร้าแบบคู่ (UCS) และแบบ CS
¨
การตอบสนอง (R) เกิดหลังจากมีการเสริมแรงสิ่งเร้า (S RF)
การตอบสนอง¨ เป็นแบบไม่สมัครใจ : ถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า
¨
เป็นแบบสมัครใจ : แสดงออกโดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
¨
โมเดล CS = > CR
¨ R = > S RF

การประเมิน (Evaluation)

ตัวอย่างการเรียนรู้ (นำเสนอตัวอย่างการเรียนรู้พฤติกรรมนิยมด้วยพุทธิพิสัยนิยม และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม)
อาจารย์มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในการเชื่อมต่อและใช้งานคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคกับเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ให้ได้ด้วยตนเอง ข้าพเจ้าจึงจัดการฝึกอบรมระยะสั้นๆ เกี่ยวกับวิธีการดังกล่าวให้แก่อาจารย์จำนวน 15 คน

แผนการสอน :
บทนำและบริบทของบทเรียน
¨
นำเสนอวัตถุประสงค์การเรียน :
การใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค และเครื่องฉายโปรเจคเตอร์เพื่อฉายภาพเพื่อการนำเสนอบนจอขนาดใหญ่สำหรับผู้เรียนรายกลุ่ม
ระบุชิ้นส่วน
¨
ผู้เรียนคุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคอยู่แล้ว นำเสนอชิ้นส่วนใหม่ๆของเครื่องฉาย และวิธีเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคและวิธีเปิดเครื่องฉาย แสดงวิธีการใช้งานและส่วนควบคุมเครื่องฉายว่าใช้งานอย่างไร



แผนการสอน (ต่อ) :
นำเสนอผู้เรียนด้วยแผนภาพ
¨
นำเสนอแผนภาพชิ้นส่วนของเครื่องฉายภาพ และวิธีการเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค
สาธิตวิธีการใช้งานเครื่องฉายภาพ
¨
ทำการเชื่อมต่อสายระหว่างเครื่องฉายกับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค เสียบสายไฟของเครื่องฉายภาพ เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคและเครื่องฉายภาพ สาธิตผู้เรียนว่าเครื่องฉายภาพกับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคมีการสื่อสารกันอย่างไร เพื่อนำเสนอภาพขนาดใหญ่บนจอสำหรับนักเรียนจำนวนมาก ขณะเดียวกันนำแผนภาพชิ้นส่วนของเครื่องฉายบนจอเพื่อเป็นการเสริมแรงอีกทางหนึ่ง
ให้ผู้เรียนสาธิตการใช้งานเครื่องฉายภาพ
¨
ให้ผู้เรียนเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่างเครื่องทั้งสองชนิด เสียบปลั๊กไฟฟ้าของเครื่องฉายภาพ เปิดเครื่องทั้งสองชนิด ผู้เรียนสาธิตว่าเครื่องทั้งสองชนิด สื่อสารเพื่อนำเสนอภาพขนาดใหญ่บนจอสำหรับนักเรียนจำนวนมากได้อย่างไร
การแก้ข้อขัดข้อง
¨
ทบทวนวิธีการสื่อสารของอุปกรณ์ทั้งสองชิ้น และวิธีการปรับภาพบนจอขนาดใหญ่ ในกรณีภาพไม่ปรากฏบนจอแบบอัตโนมัติ
ตอนจบ - สรุป
¨
สร้างความมั่นใจว่าผู้เรียนสามารถเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองชนิดได้อย่างสบายใจ เสียบปลั๊ก และเปิดเครื่องให้ฉายภาพได้ พิจารณาว่าผู้เรียนต้องศึกษาจากแผนภาพอีกครั้งหนึ่งหรือไม่ ต้องสอนซ้ำในจุดใดบ้าง

ขั้นตอนการเรียนการสอน

การสอนเริ่มต้นจากผู้สอนบอกวัตถุประสงค์ของการใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคและเครื่องฉายภาพเพื่อการนำเสนอ ผู้เรียนจะต้องเชื่อมต่อและใช้งานอุปกรณ์ทั้งสองชนิดได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นอาจารย์ที่ต้องการเรียนรู้วิธีการนำเสนอที่ดีกว่าด้วยการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว
อันดับแรกผู้สอนแนะนำคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค และวิธีการใช้งานและพอร์ตต่างๆ เช่น วิดีโอพอร์ต เพาเวอร์พอร์ต และยูเอสบีพอร์ต ซึ่งผู้เรียนส่วนมากคุ้นเคยอยู่แล้วเป็นอย่างดี
ต่อมาแนะนำส่วนต่างๆ ของเครื่องฉายภาพ ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค
ผู้สอนทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งสองชนิดพร้อมเปิดสวิตซ์
ขั้นต่อมาผู้สอนให้ผู้เรียนลงมือเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งสองชนิด โดยให้คำแนะนำทีละขั้นตอน
เมื่อผู้เรียนทำสำเร็จแต่ละขั้นตอน ผู้สอนจะกล่าวชมอย่างเหมาะสม เมื่ออุปกรณ์ทั้งสองเชื่อมโยงกันเสร็จแล้ว จะต้องเปิดไฟเพื่อตรวจสอบดูว่าการเชื่อมต่อถูกต้องหรือไม่
ผู้สอนจะมอบคู่มือการปฏิบัติงาน และผู้เรียนจะได้รับใบประกาศนียบัตรแสดงว่าได้รับการ
ฝึกอบรมจนเสร็จสมบูรณ์


แบบสังเกตพฤติกรรม

.
การเรียนการสอนตามตัวอย่าง จะเกิดการเรียนรู้ตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้เรียกว่าอะไร
1.
จุดประสงค์การเรียนการสอนดังกล่าวคืออะไร
2.
การเรียนการสอนนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนหรือไม่
3.
ผู้สอนพยายามใช้รูปแบบในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนอย่างไรบ้าง
4.
ผู้สอนได้แสดงการเสริมแรงเมื่อสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือไม่
5
การเสริมแรงกระทำในขั้นตอนใด
6.
การเสริมแรงกระทำบ่อยแค่ไหน
7.
ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่เกิดจากผู้สอนชื่นชมการปฏิบัติของผู้เรียนหรือไม่
8.
ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่เกิดจากความอิ่มใจจากภายใน (Intrinsic Reinforcement) จากการทำงาน
ได้สำเร็จหรือไม่
9.
ผู้เรียนจะมีแรงจูงใจต่อเนื่องอันเกิดจากความอิ่มใจในผลสำเร็จของงานหรือไม่


บทสรุป (Conclusion)

ทฤษฎีการเรียนการสอนและการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นหลัก นักพฤติกรรมนิยมไม่วัดความเข้าใจเพราะเชื่อว่าความสามารถทางสมองวัดไม่ได้ พวกเขาเชื่อว่า พฤติกรรมต่างๆ สามารถเรียนรู้ได้โดยผ่านสิ่งเร้า (S : Stimulus) และการตอบสนอง (R : Response) หลายๆชุดการเรียนด้วยทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกเริ่มจากการวางสิ่งเร้าก่อนตามด้วยการตอบสนอง รูปแบบดังกล่าวสามารถทำซ้ำๆจนกว่าจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ต้องการ นักทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอปะแร้นท์ เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องมีตัวเสริมแรง (Reinforcement) เข้ามาช่วย ตัวเสริมแรงมีหลายประเภทและช่วงเวลาการใช้งาน ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแตกต่างกัน
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอปะแร้นท์มีความเหมาะสมมากในการเรียนการสอน ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกมีลักษณะพื้นๆ เกินไป พ่อแม่อาจใช้ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอปะแร้นท์สอนลูก ครูใช้สอนนักเรียนมีการให้รางวัลและการเสริมแรงหลากหลายประเภท

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (อังกฤษ: Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มากซิสต์[1] คือทฤษฎีสังคม และการเมือง ที่มีพื้นฐานมาจากผลงานของคาร์ล มาร์กซ์ และฟรีดริช เองเกลส์ ลัทธิมากซ์มีอิทธิพลอย่างสูงต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) และยังมีอิทธิพลต่อวงวิชาการด้าน เศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy), มาร์กซ์สายใหม่ (Neo-Marxism), สำนักวัฒนธรรมศึกษาเบอร์มิ่งแฮม (The Birmingham School), สำนักวัฒนธรรมศึกษาแฟรงก์เฟิร์ธ (The Frankfürt School) รวมไปถึงอิทธิพลบางส่วนที่มีต่อลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodern)
อนึ่งนอกจากคำว่า "ลัทธิมากซ์" และ "มากซิสต์" ที่เป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานซึ่งใช้แปลความคำว่า Marxism แล้ว นอกจากศัพท์บัญญัติดังกล่าวยังมีการเขียนทับศัพท์อย่างอื่นด้วย อาทิ ลัทธิมาร์กซ์ ลัทธิมาร์คซ์ ลัทธิมาคซ์ ลัทธิมาร์กซ ลัทธิมากรซ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้สมควรบัญญัติคำว่า "มาร์กซิสม์" ใช้แทนคำว่า Marxism เนื่องจากคำนี้แปลว่า "ตระกูลความคิดแบบมากซ์ เพื่อให้มีความแตกต่างจากคำว่า Marxist ที่สมควรบัญญัติว่า "มากซิสต์" โดยแปลว่า "นักคิดตระกูลมาร์กซิสต์" [2]
[แก้] จุดกำเนิดของลัทธิมากซ์
คาร์ล มาร์กซ์เป็นนักปรัชญาเศรษฐศาสตร์สายสังคมนิยม (Socialism) และนักปรัชญาจิตนิยมเยอรมันสายเฮเกล ซึ่งสำนักคิดทั้ง 2 ตระกูลที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อมาร์กซ์นั้นมีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้
เศรษฐศาสตร์สายสังคมนิยมนั้นเกิดขึ้นจากการวิพากษ์ต่อระบอบทุนนิยมที่เป็นผลจากการปฏิวัติอุสาหกรรมในยุโรป (the industrial revolution) ในช่วง ศตวรรษที่ 18 19 ที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม และช่องว่างมหาศาลระหว่างคนรวย และคนจน ความนี้ถูกนำเสนอ ค.ศ. 1832 โดยนักคิดชาวฝรั่งเศสคือ ปิแอร์ เลอรูซ์ และมารี เรเบาด์ ความคิดดังกล่าวมีอิทธิพลอย่างสูงในอังกฤษ ซึ่งในเวลานั้นคือประเทศอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของยุโรป โดยผู้ที่นำความคิดสังคมนิยมมาเผยแพร่ในอังกฤษคือโรเบิร์ท โอเวน ใน ค.ศ. 1827
ปรัชญาจิตนิยมเยอรมันสายเฮเกลเป็นหลักปรัชญาของ จอร์ก เฮเกล ที่กล่าวว่าอำนาจจิตของมนุษย์คือสิ่งที่สร้างประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์ของมนุษย์เกิดเพราะความขัดแย้งของ จิต (mind) ที่อยู่ภายใน ไม่ใช่ธรรมชาติภายนอก จิตจะมีผลต่อการกระทำ โดยการกระทำนั้นๆเกิดขึ้นตามหลักการทางตรรกศาสตร์ ดังนั้นโลกจึงก้าวไปข้างหน้าด้วยการกระทำอันมีผลมาจากจิตหรือความคิด ความขัดแย้งใดๆจึงเป็นความขัดแย้งในเรื่องของความคิด ทุกๆความขัดแย้งส่งผลให้เกิดความก้าวหน้า ทั้งเชิงคุณภาพและเหตุผล ประวัติศาสตร์ทั้งหมดจึงคือประวัติศาสตร์ของความคิด และ พลังที่ผลักดันประวัติศาสตร์คือเหตุผล แต่อารมณ์ที่ดูไร้เหตุผลก็มีอิทธิพลต่อการใช้เหตุผลของมนุษย์ เพียงแต่มนุษย์ก็จะไม่สามารถใช้อารมณ์ตัดสินทุกสิ่งเพราะเหตุผลคอยควบคุมอารมณ์เอาไว้ ความคิดดังกล่าวนี้เฮเกลเรียกว่า วิภาษวิธี
[แก้] การวิพากษ์ทุนนิยมของมาร์กซ์
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/bf/Pyramid_of_Capitalist_System.png/250px-Pyramid_of_Capitalist_System.png
http://bits.wikimedia.org/skins-1.18/common/images/magnify-clip.png
ภาพเขียนใน ค.ศ. 1911 สะท้อนการวิพากษ์ทุนนิยมของมาร์กซ์ โดยแสดงให้เห็นว่าชนชั้นปกครองมีจำนวนน้อยทว่ากดขี่ขูดรีดชนชั้นล่างลงมาซึ่งมีจำนวนมากกว่า
อิทธิพลทางความคิดทั้ง 2 ส่วนแสดงให้เห็นใน ค.ศ. 1884 ผ่านหนังสือของมาร์กซ์ชื่อ เอกสารต้นฉบับทางเศรษฐศาสตร์ และปรัชญา (Economics and Philosophical Manuscript 1884)ซึ่งมาร์กซ์กล่าวถึงความทุกข์ทน 4 ชนิดของแรงงานต่างด้าว (four alienated labor suffocations) ที่เกิดขึ้นในยุคทุนนิยมอันได้แก่
ความทุกข์ทนจากผลิตผล (product) ที่ผู้ผลิตไม่ได้ใช้ผลผลิต
ความทุกข์ทนจากกระบวนการการผลิตที่ต้องทุกข์ทนทำงานหามรุ่งหามค่ำ (a torment productive activity)
ความทุกข์ทนจากสภาวะของการผลิตที่ไม่ได้พัฒนาความเป็นมนุษย์ให้กับผู้ผลิต (humans produce blindly and not in accordance with their truly human powers)
ความทุกข์ทนจากการที่ต้องผลิตเพื่อแลกเปลี่ยนมากกว่าเพื่อความพึงพอใจของมนุษย์ (the relation of exchange replaces the satisfaction of mutual need)
ซึ่งถือว่าเป็นการวิพากษ์ระบบคิดของสังคมทุนนิยมที่คิดแต่เรื่องของ กำไร ขาดทุน, ค่าเช่า, การแลกเปลี่ยน, ค่าจ้าง ฯลฯ จากทฤษฎีดังกล่าวมาร์กซ์จึงมองว่าในสังคมทุนนิยมนั้นแรงงานจึงเป็นผู้ถูกขูดรีด (the exploited) มูลค่าส่วนเกิน (surplus value) จากวิธีแห่งการผลิต (means of production) ให้ทำงานเกินความจำเป็น ในความคิดของมาร์กซ์กระบวนการดังกล่าวนี้จะสร้างความกดดันให้กับโครงสร้างทางสังคม ทำให้เกิดชนชั้น (class)และนำไปสู่การปฏิวัติสังคมในที่สุด มาร์กซ์มองว่าความคิดเป็นผลผลิตที่สะท้อนโดยตรงของวัตถุ ความคิดและวัตถุจึงสัมพันธ์กัน มาร์กซ์มองว่าประวัติศาสตร์คือการต่อสู้ระหว่างชนชั้น (classes) ซึ่งหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์คือ ค้นหากฎซึ่งคุมพฤติกรรมของสังคมมนุษย์ และกฎที่คุมพฤติกรรมในอนาคตด้วย สำหรับมุมมองของมาร์กซ์ในเรื่องดังกล่าวจึงสามารสรุปคร่าวๆได้ว่าคือ [3]
รากฐานของประวัติศาสตร์คือการต่อสู้ระหว่างชนชั้น
เศรษฐกิจเป็นรากฐานของปรากฏการณ์ในสังคม
มาร์กซ์ได้วิเคราะห์ ในหนังสือ ชื่อ "ทุน (The Kapital)" ว่า รูปแบบการผลิตทุนนิยม บังคับให้กรรม (Labour) จำเป็นต้องขายแรงงานของตนเองในราคาถูกแก่นายทุน ดังนั้นกำไรของนายทุน แท้จริงแล้ว เกิดจากการขูดรีด มูลค่าส่วนเกิน จากค่าแรงของกรรมาชีพ เพื่อกำไร ชนชั้นนายทุน จึงต้องพัฒนาเครื่องมือและวิธีการการผลิตให้ก้าวหน้าขึ้นตลอดเวลา ต้องขยายตลาดสินค้า แหล่งวัตถุดิบและกิจการไปทั่วโลก การผลิตแบบทุนนิยมนี้ ได้ทำให้เกิดความปั่นป่วนและวิกฤติทางเศรษฐกิจ แบบวัฎจักร นั่นคือการผลิตล้นเกิน ท่ามกลางโลกที่อดหยากขาดแคลน เพื่อแก้ไขวิกฤติการผลิตล้นเกิน และรักษาราคาของผลผลิตให้สูงกว่าต้นทุน จึงต้องทำลายผลผลิตส่วนเกิน ออกจากตลาด พยายามขยายตลาดใหม และใช้ตลาดเก่าให้เป็นประโยชน์ ซึ่งผลสุดท้าย ก็จะนำไปสู่วิกฤตที่รอบด้าน ยิ่งขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้น ทำใหความขัดแย้งทางชนชั้นในสังคมรุนแรงขึ้น จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม ในที่สุด จากปรากฏการณ์ดังกล่าวมาร์กซ์ เห็นว่า สิทธิ เสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในสังคมทุนนิยม นั้น เป็นจริงเฉพาะกับผู้ที่มีทรัพย์สิน ไม่ใช่สำหรับกรรมมาชีพและคนยากจน การที่มนุษย์ถูกทำให้ยอมรับว่ามีความรวย ความจนนั้นมาร์กซ์เรยกว่าจิตสำนึกหลอกลวงและจอมปลอม (False Conciousness)
จิตสำนึกหลอกลวงและจอมปลอมกำหนดพฤติกรรมในสังคมมนุษย์ให้ถูกครอบงำโดยปัจจัยในการผลิต คือ ทุน, เครื่องมือ และที่ดิน ที่สำคัญคือ แรงงานเป็นตัวกำหนด และผลักดัน ซึ่งส่งผลให้เกิดชนชั้นทางสังคม มาร์กซ์เรียกความคิดเหล่านี้ว่า วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ (historical materialism)” โดยมีตรรกะดังนี้[4]
ทุกสิ่งเป็นไปตามกฎของวิภาษวิธีของเฮเกลดังนั้น
ทุกสิ่งย่อมมีการสูญสลาย และย่อมมีสิ่งเกิดใหม่ ประวัติศาสตร์ของสังคมเป็นวิวัฒนาการของการต่อสู้ทางชนชั้น
การเปลี่ยนแปลงทางวัตถุ ในเชิงปริมาณ ย่อมก่อให้เกิดคุณภาพ ในทางวัตถุ คือ สภาวะ ในทางสังคม คือการปฏิวัติ
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามกฎ 3 ข้อ ข้างต้น
มนุษย์ที่สมบูรณ์ (ในสังคมคอมมิวนิสม์) คือผู้ที่มีจิตสำนึกต่อสังคม เพราะได้รับการพัฒนา และวิวัฒนาการทางความคิด และวัตถุมาอย่างยาวนาน
[แก้] วิวัฒนาการของสังคมแนวลัทธิมากซ์
การที่มาร์กซ์มองว่าในสังคมทุนนิยมนั้นแรงงานจึงเป็นผู้ถูกขูดรีดมูลค่าส่วนเกินวิธีแห่งการผลิตอันนำไปสู่การสร้างความกดดันให้กับโครงสร้างทางสังคม และนำไปสู่การปฏิวัติสังคมในที่สุดนั้น มาร์กซ์ไม่ได้อธิบายไว้อย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนนี้เองเกลส์จึงอธิบายความคิดเครื่องวิวัฒนาการของสังคมในความคิดของมาร์กซ์ว่า สังคมของมาร์กซ์มีวิวัฒนาการด้วยกัน 6 ขั้น คือ[5]
สังคมคอมมิวนิสต์โบราณ (primitive communism) เป็นสังคมโบราณของมนุษย์ที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
สังคมทาส (slave society) เป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับการที่มนุษย์เริ่มร่วมกันสร้างสังคมในลักษณะของเมือง
สังคมศักดินา (feudalism) เป็นวิวัฒนาการขั้นที่สามซึ่งมนุษย์เริ่มจัดการให้เกิดการปกครองที่เป็นระบบขึ้นโดยผู้ปกครองมักเป็นอภิสิทธิ์ชน (aristocracy) ในอีกด้านหนึ่งก็เกิดลักษณะทุนนิยมขึ้นบ้าง
สังคมทุนนิยม (capitalism) เป็นวิวัฒนการของสังคมที่ผู้ปกครองคือพวกผู้สะสมทุน (capitalists) ที่เป็นนายจ้างและเจ้าของกิจการ ที่มักเป็นชนชั้นกลาง (bourgeois)
สังคมสังคมนิยม (socialism) เป็นวิวัฒนาการที่เกิดจากการปฏิวัติทางสังคมของชนชั้นกรรมาชีพผู้ที่ถูกขูดรีด (proletariat) ให้กลายมาเป็นผู้ปกครองแบบ "เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ" (diktatur des proletariats) และมีการพิจารณาวิธีแห่งการผลิตใหม่เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วิวัฒนาการขั้นสุดท้าย
สังคมคอมมิวนิสต์ (communism) เป็นวิวัฒนาการทางสังคมสูงสุดของมนุษย์ ที่สังคมสามารถกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกัน เป็นสังคมที่ไม่มีชนชั้น มนุษย์ทุกคนสามารถใช้ชีวิตตามใจปรารถนาโดยมีมีเพียงความรับผิดชอบต่อตนเอง และชุมชนโดยรวม
[แก้] ลัทธิมากซ์ในปัจจุบัน
ทฤษฎีของลัทธิมากซ์ ได้รับการยึดถือ แปลความ และวิพากษ์วิจารณ์ จากบรรดานักวิชาการ นักการเมือง พรรคการเมือง รัฐบาล องค์กรต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประชาชนจำนวนมาก และเรียกทฤษฎีสังคมนิยมของมาร์กซ์ ว่ามากซิสม์[6]นับตั้งแต่ทฤษฎีนี้ ได้กำเนิดขึ้นตลอดมา ตราบจนถึงปัจจุบัน จนกล่าวได้ว่าเป็นทฤษฎีที่ได้รับการพูดถึงและอ้างอิงมากที่สุดทฤษฎีหนึ่ง ไม่ว่าจากฝ่ายที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม
นับจากที่ได้กำเนิดขึ้นในกลางศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ได้มีคนนำลัทธิมากซ์ไปใช้เป็นจำนวนมาก คนเหล่านี้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มแรก คือ กลุ่มคนที่เชื่อมั่นในลัทธิมากซ์แบบดั้งเดิม และนำลัทธิมากซ์ ไปประยุกต์ใช้ โดยเน้นถึงความถูกต้องตรงตามทฤษฎีอย่างเคร่งครัด พวกนี้จะเรียกตนเองว่าเป็นนักลัทธิมากซ์ และกล่าวหากลุ่มที่สองว่าเป็นพวกลัทธิแก้
กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มคนที่เห็นว่า ทฤษฎีบางส่วนของลัทธิมากซ์ ไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันแล้ว แต่ทฤษฎีบางส่วนของลัทธิมากซ์ ยังคงถูกต้องและสามารถใช้ได้จึงนำเอาเฉพาะส่วนที่ยังใช้ได้ไปประยุกต์ใช้ตามมุมมองของกลุ่มตน โดยไม่ยึดถือทฤษฎีลัทธิมากซ์ดั้งเดิมอย่างเคร่งครัดเหมือนกลุ่มแรก แต่ยังเรียกกลุ่มตนว่าเป็นนักลัทธิมากซ์
กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มคนที่ไม่ได้เชื่อถือในทฤษฎีลัทธิมากซ์ แต่นำเฉพาะแนวคิดหรือข้อเขียนบางส่วนที่ตรงกับแนวคิดของตน มาใช้อ้างอิงในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง หรือทางอื่นๆ เช่น ข้อเขียนของทอฟเลอร์ ซึ่งถือว่าเป็นนักอนาคตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐ เป็นต้น
[แก้] ตระกูลทางความคิดต่างๆของลัทธิมากซ์
1. มากซิสม์โบราณ (Orthodox Marxism หรือ Old School Marxism) มากซิสม์โบราณคือกลุ่มนักวิชาการที่ยึดถือทฤษฎีของมาร์กซ์อย่างเคร่งครัด
2. ลัทธิมากซ์ในรัสเซีย : ลัทธิเลนินหรือเลนินนิสม์ (Leninism), ลัทธิสตาลินหรือสตาลินนิสม์ (Stalinism) และ ลัทธิทรอทกีหรือทรอทกียิสม์ (Trotskyism)
Wiki letter w.svgส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
3. ลัทธิเหมา หรือ เหมาอิสม์(Maoism)
Wiki letter w.svgส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
4. มาร์กซ์สายใหม่หรือนีโอมาร์กซิสม์ (Neo-Marxism) มาร์กซ์สายใหม่เป็นสกุลทางความคิดที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยยังยึดโยงทางความคิดเข้ากับความคิดของมาร์กซ์ไว้ โดยเฉพาะในเรื่องที่ว่าสังคมและวัฒนธรรมมักจะมีความขัดแย้งและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเสมอ ผลของการเปลี่ยนแปลงมักจะเป็นสภาวะใหม่ที่แตกต่างจากภาวะเดิม รวมถึงเชื่อว่าสังคมมนุษย์นั้นมีความไม่เท่าเทียมกัน อำนาจการชี้นำ และครอบงำสังคมยกอยู่ในมือกลุ่มคนส่วนน้อย
ในส่วนที่มาร์กซ์สายใหม่มองต่างไปจากมาร์กซ์โบราณ คือในเรื่องเครื่องมือหรือเงื่อนไขของการครอบงำ ดังนี้
ขณะที่มาร์กซ์สายเดิมมองว่าเครื่องมือหรือเงื่อนไขดังกล่าวคืออำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นลักษณะการครอบงำโดยตรง และการต่อสู้ทางชนชั้นก็ต่อสู้โดยตรงเช่นกัน ชนชั้นกรรมมาชีพที่ต่างมีสำนึกทางชนชั้นร่วมกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อต้องการปฏิวัติสังคมอย่างถอนรากถอนโคน เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ปราศจากชนชั้น สังคมแห่งความเท่าเทียมกัน หรือสังคมคอมมิวนิสต์
มาร์กซ์สายใหม่จะมองว่าเครื่องมือ หรือเงื่อนไขของการครอบงำนั้น คืออุดมการณ์ทางการเมือง อุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมหรือความรู้ โดยมีลักษณะการครอบงำทางอ้อม และการต่อสู้ทางชนชั้นก็ต่อสู้โดยทางอ้อมเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างพลังขับเคลื่อนผ่านกลุ่มตัวแทนสังคมต่างๆ กลุ่มประชาสังคม กลุ่มเครือข่าย โดยมีเป้าหมายพื้นฐานเพื่อการปฏิรูปสังคมสู่สังคมที่มีความยุติธรรม อย่างค่อยเป็นค่อยไป [7]
มาร์กซ์สายใหม่ยังแยกย่อยอีกเป็นหลายตระกูล แต่ก็มักเรียกขานแยกต่างหากกันไปอาทิมาร์กซ์สายใหม่ที่เน้นศึกษาวัฒนธรรมได้แก่นักปรัชญามาร์กซ์สายใหม่ในมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ทในเยอรมนี ก็จะเรียกขานว่านักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ท หรือนักปรัชญามาร์กซ์สายใหม่ในมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมก็จะเรียกขานว่านักคิดสายเบอร์มิ่งแฮม เป็นต้น แต่อย่างไรเสียอิทธิพลความคิดของนักทฤษฎีมาร์กซ์สายใหม่นั้นก็สามารถลากโยงไปถึงความคิดของนักการเมืองชาวอิตาลีที่ชื่อว่า อันโทนิโอ กรัมชี่
5. มาร์กซิสม์ เชิงโครงสร้าง (the Structural Marxism) หลุยส์ อัลธูสแซร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้พัฒนาความคิดของมาร์กซ์ และมาร์กซ์สายใหม่ของกรัมชี่ผนวกเข้ากับทฤษฎีสังคมศาสตร์ตระกูลโครงสร้างนิยม โดยมองว่ารัฐนั้นเป็นข้ารับใช้ของระบอบทุนนิยม และชนชั้นนายทุน ชนชั้นนายทุนมีอำนาจสั่งการรัฐโดยตรง อำนาจรัฐกับอำนาจของทุนจึงเป็นสิ่งเดียวกัน จากกระบวนการดังกล่าวรัฐจึงทำหน้าที่ตอบสนองต่อทุน ในการโอบอุ้มช่วยเหลือนายทุนมากกว่าตอบสนอง และโอบอุ้มสังคม รัฐกระทำการดังกล่าวผ่านนโยบายสาธารณะ, กฎหมาย และระบบเศรษฐกิจให้เป็นไปตามที่นายทุนต้องการ
สำหรับอัลธูสแซร์อุดมการณ์มีฐานะเป็นโครงสร้างส่วนบนที่มีบทบาทในการกำหนดให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับโครงสร้างส่วนล่าง อุดมการณ์จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐกับปัจเจกบุคคลสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีเอกภาพและต่อเนื่อง จนกลายเป็นเรื่องคุ้นชินเรื่องปกติธรรมดาไป
อัลธูสแซร์มองว่าอุดมการณ์เป็นเครื่องมือในการสร้าง, สืบสาน และผลิตซ้ำให้กับสังคม อุดมการณ์จึงต้องถูกผลิตซ้ำผ่านการปลูกฝังบ่มเพาะให้กับสมาชิกในสังคม โดยการถูกฝึกฝนให้ยอมรับต่อกฎเกณฑ์ของระบบที่ดำรงอยู่ การผลิตซ้ำความสัมพันธ์ทางการผลิตนี้ถูกกระทำขึ้นอย่างมั่นคงโดยการใช้อำนาจรัฐผ่านกลไกหรือสถาบันซึ่งรวมกันเป็นรัฐ อุดมการณ์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐ โดยรัฐใช้อุดมการณ์เพื่อผลประโยชน์ดังกล่าวสิ่งที่อัลธูแซร์เรียกว่ากลไกของรัฐ (the state apparatus) โดย อัลธูสแซร์แบ่งออกเป็นสองแบบ คือ
กลไกของรัฐที่มีลักษณะกดบังคับ (repressive state apparatus) ได้แก่ รัฐบาล ทหาร ตำรวจ ศาล คุก กลไกของรัฐในลักษณะแรกนี้ปฏิบัติการโดยการบังคับใช้ความรุนแรง
กลไกของรัฐในเชิงอุดมการณ์ (ideological state apparatus) ซึ่งได้แก่ ศาสนา โรงเรียน ครอบครัว ระบบกฎหมาย พรรคการเมือง สหภาพแรงงาน และเครือข่ายการสื่อสาร กลไกของรัฐแบบที่สองนี้ปฏิบัติการณ์ผ่านการสร้างอุดมการณ์ให้กับสมาชิกในสังคม[8]
6. สำนักวัฒนธรรมศึกษาเบอร์มิ่งแฮม (The Birmingham School of The Cultural Studies)
นักทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยพยายามที่จะข้ามพ้นวิธีคิดแบบเศรษฐกิจกำหนดวัฒนธรรมในฐานะที่วัฒนธรรมเป็นโครงสร้างส่วนบนแบบมาร์กซิสม์โบราณมาสู่ความเข้าใจวัฒนธรรมในฐานะที่เป็น การกระทำ” (action) ที่เกี่ยวพันกับเศรษฐกิจและการเมือง ทั้งนี้โดยเอามนุษย์เป็นแกนกลางในการศึกษา (human agency) มากกว่าจะศึกษาเพียงแค่สภาวะที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ (condition) กับผลที่ตามมาจากการถูกกำหนด (outcome) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือนักทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยพยายามเข้าใจการเกิดขึ้นของวัฒนธรรม (the making of culture) ในรายละเอียด มากกว่าศึกษาแค่ว่าอะไรเป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมแต่เพียงเท่านั้น โดยสรุป นักคิดสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยพยายามที่จะหาส่วนผสมผสานระหว่างแนวคิดว่าวัฒนธรรมนั้นถูกกำหนดโดยพลังในระดับโครงสร้างต่างๆอย่างสมบูรณ์ และวัฒนธรรมนั้นมีอิสระโดยตัวเอง ซึ่งการผสมผสานดังกล่าวนั้นสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยได้รับแรงบันดาลใจจากงานของกรัมชี่[9]
งานเขียนของสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยศึกษานั้นเน้นการศึกษาชีวิตจริงของผู้คนในแง่มุมต่างๆ อาทิ เรื่องการศึกษา เรื่องวัฒนธรรมวัยรุ่น เรื่องสื่อมวลชน อาทิ โฆษณา และโทรทัศน์ ดังนั้น หัวใจสำคัญของการศึกษาของสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยนั้นจึงอยู่ที่การประกาศจุดยืนทางอุดมการณ์ของตัวเองอย่างชัดเจนในเบื้องแรกว่า ยึดถือและศรัทธาในงานของมาร์กซ์ แต่ก็เสนอว่าที่ผ่านมานั้นยังไม่มีทฤษฎีในเรื่องของอุดมการณ์ที่เป็นที่พอใจและหนทางที่จะได้ทฤษฎีอุดมการณ์ที่น่าพอใจนั้นก็คือการผสมผสานการถกเถียงทางทฤษฎีเข้ากับการศึกษากรณีรูปธรรมต่างๆ โดยเฉพาะในการทำการค้นหา ความสัมพันธ์ที่แท้จริง (real relations)” กับ รูปแบบที่ปรากฏออกมา (phenomenal form)” ซึ่งในหลายกรณีนั้นรูปแบบที่ปรากฏออกมานั้นก็ทำให้เราลุ่มหลงอยู่กับมัน และเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นจริงแท้
สำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยศึกษานั้นจึงเสนอว่า การศึกษาเรื่องอุดมการณ์นั้นเป็นส่วนสำคัญในการศึกษา วัฒนธรรม โดยเฉพาะในความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดต่างๆ สถาบันต่างๆ และบริบททางสังคม ทฤษฎีของสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยศึกษามีอิทธิพลในการศึกษาเรื่องของการสื่อสารและสื่อมวลชนกับมิติทางการเมืองโดยเฉพาะในอังกฤษในช่วงทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา โดยเฉพาะงานเขียนของสจวร์ท ฮอลล์ นักสังคมวิทยาชาวสหราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลอย่างสูงอยู่ในวงวิชาการในศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มหาวิทยาลัย เบอร์มิ่งแฮม (Center of Contemporary Cultural Studies ; CCCS) หรือที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า ตระกูลนักคิดสายเบอร์มิ่งแฮม (the Birmingham school)” โดยฮอลล์ เสนอว่า คำว่าอุดมการณ์นั้นไม่เคยเป็นคำที่มีความเป็นกลางทางการเมือง และแม้จะมีการให้ความหมายว่า อุดมการณ์คือ ชุดของความคิดที่มีความเป็นระบบ แต่วิธีการอธิบายเช่นนี้ก็มีลักษณะที่เน้นการพรรณาความ มากกว่าการวิเคราะห์ ดังนั้น แม้ว่าคำว่าอุดมการณ์ทางการเมืองจะมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า ความคิด แต่ในขณะเดียวกันความคิดนั้นไม่ใช่ตัวอุดมการณ์ทั้งหมด อุดมการณ์จึงมีการซ่อนแอบความหมายอยู่ด้วย และเป็นหน้าที่ของนักวัฒนธรรมร่วมสมัยศึกษาที่จะต้องค้นหาให้ได้ว่าอะไรคือรากฐานหรือธรรมชาติของการบังคับหรือเป็นที่มาของการที่บางสิ่งบางอย่างที่ไม่ใช่เรื่องของความคิดซึ่งเข้ามากำหนดส่วนที่เป็นความคิด[10]
นักคิดสายเบอร์มิ่งแฮมใช้รากฐานทางทฤษฎีของฮอลล์มาใช้เชิงวิพากษ์วัฒนธรรมผ่านการวิเคราะห์ การตีความ การวิจารณ์นวัตกรรมทางวัฒนธรรม โดยรวมแล้วนักคิดสายเบอร์มิ่งแฮมมองว่าวัฒนธรรมเป็นรากฐานของการแปรรูปทางสังคม (social reformation) โดยสังคมมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่เป็นลำดับชั้น และเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกัน ทั้งในเรื่องชนชั้น ความเป็นเพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และความเป็นชาติ นักคิดสายเบอร์มิ่งแฮมจึงมุ่งศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจของพลังที่ครอบงำ และการต่อต้านในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รวมถึงปฏิเสธ การจัดระบบแบบลำดับชั้นสูงต่ำ (hierarchical stratification) ของวัฒนธรรม นักคิดสายเบอร์มิ่งแฮมจะเชื่อว่าวัฒนธรรมนั้นต่างมีความสำคัญต่อกันในระดับระนาบ (horizontal) ผู้รับสื่อเป็นผู้กระทำ (active audience) เพราะเป็นผู้สร้างความหมายต่าง ๆ และยังผลิตซ้ำวัฒนธรรมดังกล่าวด้วย นักคิดสายเบอร์มิ่งแฮมจะพุ่งประเด็นศึกษาว่าผู้รับสื่อตีความและแปรความหมายวัฒนธรรมที่ได้รับจากสื่ออย่างไร รวมถึงวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้รับสารตอบสนองต่อสื่อแตกต่างกันไป
ในช่วงทศวรรษที่ 1970 นักคิดสายเบอร์มิ่งแฮมเริ่มให้ความสนใจกับวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มวัยรุ่น เพื่อต่อต้านการครอบงำของระบบทุนนิยมในรูปแบบต่าง ๆ วัฒนธรรมวัยรุ่นจึงถูกมองในฐานะรูปแบบวัฒนธรรมใหม่ที่เป็นผลสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ประเด็นเรื่องอัตลักษณ์, ความแตกต่างหลากหลาย, การครอบงำทางวัฒนธรรม ฯลฯ ผ่าน การแต่งกาย แฟชั่น พฤติกรรม และอุดมการณ์ทางการเมือง และที่สำคัญการเกิดขึ้นของ วัฒนธรรมย่อย (sub culture)” ที่ต่อต้านรูปแบบวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่ครอบงำนั้นเกิดขึ้น หรือสามารถถูกเข้าใจได้อย่างไร[11]
7. สำนักคิดแฟรงก์เฟิร์ธ (The Frankfürt School)
เป็นกลุ่มนักวิชาการในสถาบันวิจัยทางสังคมแห่งมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ท (Institution of Social Research, Johann Wolfgang von Goethe-University of Frankfurt) โดยการนำของมักซ์ ฮอคไฮม์เมอร์, ธีโอดอร์ อดอร์โน, , เฮอร์เบิร์ท มาคูเซอ และวอลเตอร์ เบนญามิน ที่เริ่มมีการศึกษาเชิงวิพากษ์ (critical theory) ในประเด็นทางวัฒนธรรมอาทิ เศรษฐศาสตร์การเมืองของสื่อ, การวิเคราะห์วัฒนธรรม, การวิเคราะห์การรับสารในทางอุดมการณ์ เป็นต้น นักวิชาการกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักในนามนักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ท (The Frankfürt School) ซึ่งก็คือชื่อสถาบันที่นักวิชาการกลุ่มนี้สังกัดนั่นเอง
นักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ทจะปฏิเสธทฤษฎีมาร์กซิสม์ในส่วนที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยวิพาก์ว่าให้ความสำคัญต่อส่วนนี้มากเกินไปจนละเลยมิติอื่นไปเสียหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรม นักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ทจึงให้ความสำคัญกับมิติด้านวัฒนธรรม ความคิด จิตสำนึก และอุดมการณ์ ประเด็นที่นักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ทให้ความสนใจคือการที่สื่อทำให้ วัฒนธรรมแปรสภาพมาเป็น สินค้า หรือในภาษาของนักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ททำให้ทุกอย่างกลายเป็น วัฒนธรรมสำหรับคนหมู่มาก (mass culture) กล่าวคือมีการผลิตวัฒนธรรมเพื่อกำไร ซึ่งนักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ทเห็นว่าเป็นการทำลายคุณค่าทางวัฒนธรรม ดังนั้นสำหรับนักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ทวัฒนธรรมจึงไม่มีวัฒนธรรมชั้นสูง (hi-culture) หรือวัฒนธรรมชั้นล่าง (lo-culture) คงมีแต่เพียงวัฒนธรรมสำหรับคนหมู่มากที่ต่างถูกผลิตมาเพื่อตอบสนองความต้องการขายวัฒนธรรมในฐานะของสินค้า ที่คุณค่านั้นได้ถูกทำลายลงไปแล้วทั้งหมดเท่านั้น[12]
8. แนวคิดหลังมาร์กซิสม์ (Post-Marxism)
แนวคิดมาร์กซิสม์ แบบหลังโครงสร้างนิยม (Poststructuralist Marxism) หรือ มาร์กซิสม์หลังสมัยใหม่ (Postmodern Marxism) หรือเรียกสั้นๆว่าหลังมาร์กซิสม์ (Post-Marxism) เป็นแนวคิดที่วางฐานอยู่บนการวิพากษ์แนวคิดมาร์กซิสม์เชิงโครงสร้างของอัสธูสแซร์ และใช้ฐานคิดบางส่วนจากแนวคิดของมิแชล ฟูโกต์ ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างแนวคิดหลังมาร์กซิสม์กับมาร์กซิสม์อื่นๆคือ แต่เดิมนั้นลัทธิมาร์กซ์จะมองการต่อสู้ทางชนชั้นโดยวางฐานอยู่บนแนวคิดเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่แนวคิดหลังมาร์กซิสม์จะปฏิเสธมุมมองดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเป็นมุมมองที่มีความคับแคบ แนวคิดหลังมาร์กซิสม์จะมองว่าการกดขี่ทางชนชั้นนั้นสามารถกล่าวรวมไปถึงเรื่องเพศ, ชาติพันธุ์วรรณา, เชื่อชาติ, ศาสนา ฯลฯ[13] อย่างไรก็ดีก็มีการกล่าววิจารณ์ว่าแม้แนวคิดหลังมาร์ซิสม์จะพยายามกล่าวว่าตนเองนั้นหันหลังให้กับลัทธิมาร์กซ์ก็ตาม อย่างไรก็ดีนักคิดตระกูลนี้เองก็ยังหลงไหลในแนวทางการวิเคราะห์สังคมและการเมืองแบบมาร์กซ์อยู่อย่างมากเช่นกัน[14]
ปรัชญาของมาร์กซ
แนวคิดหลักของมาร์กซวางอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงงาน โดยพื้นฐานแล้ว มาร์กซกล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบข้าง เขาเรียกกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการ ใช้แรงงาน และความพลังในการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า กำลังแรงงาน สำหรับมาร์กซแล้ว การใช้แรงงานนี้นอกจากจะเป็นความสามารถโดยธรรมชาติของกิจกรรมต่างๆ ทางกายภาพแล้ว แรงงานยังเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับความคิดและจินตนาการของมนุษย์ด้วย:
แมงมุมทำกิจกรรมที่ไม่ต่างไปจากช่างทอผ้า และการสร้างรังของฝูงผึ้งก็สามารถทำให้สถาปนิกต้องอับอายได้ แต่ความแตกต่างระหว่างสถาปนิกที่แย่ที่สุดกับผึ้งที่เยี่ยมยอดที่สุดก็คือ สถาปนิกนั้นวาดภาพโครงสร้างของเขาในจินตนาการ ก่อนที่จะสร้างมันขึ้นมาในโลกความเป็นจริง.
นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มาร์กซมิได้ใช้ข้ออ้างอื่นๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย.
มาร์กซสืบทอดแนวคิดแบบวิภาษวิธีของเฮเกิล ดังนั้นเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง บางครั้งมาร์กซิสจะอธิบายแนวคิดนี้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง "ธรรมชาติ" กับ "ประวัติศาสตร์" หลายครั้งพวกเขาจะกล่าวว่า "สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก" นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ -- สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เขากับสิ่งต่างๆ รอบตัว
มาร์กซไม่เชื่อว่าคนทุกคนจะทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่เขาก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่าลักษณะที่ใครสักคนทำงานนั้นถูกกำหนดด้วยความคิดส่วนตัวไปทั้งสิ้น เขากลับอธิบายว่าการทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา
การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมาร์กซนั้นวางอยู่บนความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยการผลิต ซึ่งหมายถึงสิ่งของเช่นที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปจนถึงเทคโนโลยี ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ และ ความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิต ที่กล่าวได้ว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงสังคมที่ผู้คนถูกดึงเข้าไปร่วม เมื่อเขาได้เป็นเจ้าของและได้ใช้ปัจจัยการผลิต ปัจจัยสองประการนี้รวมเป็น รูปแบบการผลิต มาร์กซสังเกตว่าในสังคมหนึ่งๆ รูปแบบการผลิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย สำหรับสังคมทางยุโรปนั้นมีรูปแบบในการพัฒนาโดยเริ่มจากรูปแบบการผลิตแบบศักดินา ไปจนถึงรูปแบบการผลิตแบบทุนนิยม โดยทั่วไปแล้ว มาร์กซเชื่อว่าปัจจัยการผลิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมากกว่าความสัมพันธ์ของการผลิต ยกตัวอย่างเช่นเราได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เช่นอินเทอร์เน็ต แต่ต้องใช้เวลาหลังจากนั้น ก่อนที่เราจะได้พัฒนากฎหมายที่ควบคุมเทคโนโลยีนั้น สำหรับมาร์กซแล้วการไม่เข้ากันของ ฐาน ทางเศรษฐกิจกับ โครงสร้างส่วนบน (superstructure) ทางสังคม คือสิ่งที่ทำให้เกิดความระส่ำระสายและความขัดแย้งในสังคม
ในการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิตนั้น มาร์กซไม่ได้มองแค่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน หรือ กลุ่มชนชั้น มาร์กซมิได้นิยาม "ชนชั้น" ขึ้นมาโดยอาศัยใช้เพียงแค่การบรรยายแบบอัตวิสัย (subjective) เท่านั้น หากแต่ว่าเขายังพยายามจะนิยามชนชั้นด้วยเงื่อนไขที่เป็นแบบวัตถุวิสัย (objective) ด้วย เช่นการเข้าถึงทรัพยากรในการผลิต
มาร์กซให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สุดของมนุษย์เอง ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้โดยละเอียด มาร์กซทำโดยผ่านทางปัญหาความแปลกแยก ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงาน กล่าวคือ เมื่อกำลังแรงงานได้ถูกใช้ไปในการผลิต แต่เมื่อกิจกรรมนั้นสิ้นสุดลงกรรมสิทธิ์ของผลลัพธ์ที่ได้กลับตกไปเป็นของนายทุน นั่นคือมองได้ว่าเป็นการละทิ้งกรรมสิทธิ์ในกำลังแรงงานของตนเอง สภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความแปลกแยกจากธรรมชาติของตนเอง และก่อให้เกิดความรู้สึกสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดสภาพการคลั่งไคล้โภคภัณฑ์ (commodity fetishism) ซึ่งผู้คนจะคิดว่าสิ่งสำคัญที่พวกเขาสร้างขึ้นก็คือสินค้า ความสำคัญทุกอย่างจะถูกถ่ายโอนไปที่วัตถุรอบกายแทนที่จะเป็นผู้คนด้วยกันเอง หลังจากนั้นผู้คนจะมองเห็นและเข้าใจตนเองผ่านทางความสัมพันธ์กับทรัพย์สินหรือสินค้าที่ตนเองครอบครองไว้เท่านั้น
การคลั่งไคล้โภคภัณฑ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เองเจิลส์เรียกว่า สำนึกที่ผิดพลาด ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในเรื่องของ อุดมการณ์ ซึ่งมาร์กซและเองเจิลส์ได้ให้ความหมายว่าเป็นความคิดที่สะท้อนผลประโยชน์ของบางชนชั้นในบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ แต่กลับถูกแสดงว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องสำหรับทุกๆ ชนชั้นและทุกๆ เวลา ในความคิดของพวกเขานั้น ความเชื่อดังกล่าวมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่สำคัญทางการเมืองด้วย กล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การควบคุมที่ชนชั้นหนึ่งๆ กระทำผ่านทางการครอบครองเครื่องมือการผลิตนั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับกับการผลิตอาหารหรือสินค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับการผลิตความคิดหรือความเชื่อด้วยเช่นกัน ความคิดนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมสมาชิกของชนชั้นที่ถูกกดขี่จึงยังมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้นแม้ว่าความเชื่อบางอย่างจะผิดพลาดแต่มันก็ยังเผยให้เห็นความจริงบางอย่างที่ถูกซ่อนไว้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าสิ่งของที่คนผลิตขึ้นนั้นมีผลิตผลมากกว่าคนที่ผลิตมันขึ้นมานั้นอาจฟังประหลาด แต่มันก็แสดงให้เห็น (ในความคิดของมาร์กซและเองเจิลส์) ว่าผู้คนภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นถูกทำให้แปลกแยกจากกำลังแรงงานของตนเอง อีกตัวอย่างหนึ่งพบได้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาโดยมาร์กซ ที่สรุปได้ในย่อหน้าหนึ่งของ Contribution to the Critique of Hegel's "Philosophy of Right:"
ความทุกข์ทางศาสนานั้นเป็นทั้งการแสดงออกของความทุกข์ที่แท้จริงและการประท้วงไม่ยอมแพ้ต่อความทุกข์ที่แท้จริง ศาสนาคือเสียงกรีดร้องของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกดขี่ หัวใจของโลกที่ไร้หัวใจ และวิญญาณของสภาพไร้วิญญาณ มันคือฝิ่นของมวลชน
แม้ว่าในงานวิทยานิพนธ์ระดับเตรียมอุดมศึกษาเขาเคยอ้างว่าหน้าที่หลักของศาสนาคือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในที่นี้มาร์กซมองว่าศาสนานั้นเป็นเครื่องมือทางสังคมสำหรับการแสดงออกและจัดการกับความเหลื่อมล้ำนั่นเอง
[แก้] เราสามารถสรุปแนวคิดของคาร์ล มาร์กซได้คร่าวๆดังนี้
ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น โดยนับต้องแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เช่น ทาสกับนาย ไพร่กับผู้ดี นายจ้างกับลูกจ้าง โดยจะมีคนนึงเป็นผู้ข่มเหง และอีกคนหนึ่งเป็นผู้ถูกข่มเหง
โลกของนายทุน ในโลกปัจจุบันเกิดชนชั้นใหม่ที่มีบทบาทในสังคมมาก ได้แก่พวกนายทุน นายทุนเอาเปรียบชนชั้นแรงงานทุกวิถีทาง อำนาจของนายทุนคืออำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยกษัตริย์และผู้ปกครองก็อยู่ภายใต้อิทธิพลนายทุนด้วย
พวกนายทุนทั้งหลายมักเรียกร้องเสรีภาพ เช่น การค้าขายอย่างเสรี การแข่งขันเสรี แต่แท้จริงแล้วเป็นการเรียกร้องให้ตัวเองเอาเปรียบผู้อื่น
นายทุนเป็นพวกไร้ศีลธรรม มองเห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเพียงการสะสมเงินทอง ส่วนคุณค่าทางจิตใจ ความเมตตาปรานีหรือมนุษยธรรมแทบจะไม่มีอยู่ในสำนึกของนายทุน
ชนชั้นกรรมาชีพจะชนะนายทุนในที่สุด ในตอนแรกสังคมอาจมีหลายชนชั้น แต่สุดท้ายจะเหลือเพียง นายทุน และ กรรมาชีพ ซึ่งจะถูกนายทุนข่มเหงตลอดเวลา จนต้องรวมตัวเป็นสหภาพกรรมกร และกลายมาเป็นพรรคการเมือง จนมีอำนาจเอาชนะนายทุนได้
ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว ลักษณะที่สำคัญที่สุดของระบอบคอมมิวนิสต์คือ การล้มล้างทรัพย์สินส่วนตัว เพราะสิ่งนี้คือ สัญลักษณ์แห่งความเห็นแก่ตัว ของนายทุน
[แก้] การวิพากษ์ระบบทุนนิยมโดยมาร์กซ
มาร์กซอธิบายว่าสภาวะแปลกแยกของกำลังแรงงาน (ที่ทำให้เกิดการคลั่งไคล้โภคภัณฑ์) นั้นเป็นลักษณะเฉพาะตัวของระบบทุนนิยม หาใช่การเกิดขึ้นของตลาดเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้าจะมีระบบทุนนิยม ในยุโรปก็มีตลาดที่ผู้ค้าและผู้ผลิตได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอยู่แล้ว ในทัศนะของมาร์กซ รูปแบบการผลิตแบบทุนนิยมพัฒนาขึ้นในยุโรปเมื่อแรงงานถูกเปลี่ยนให้เป็นโภคภัณฑ์---นั่นคือ เมื่อชาวนามีอิสระที่จะขายกำลังแรงงานของตนเอง และอยู่ในภาวะจำเป็นต้องกระทำการดังกล่าวเนื่องจากการขาดที่ดินหรือเครื่องมือสำหรับการผลิต ผู้คนยอมขายกำลังกายของตนเมื่อเขายอมรับค่าตอบแทนสำหรับงานใดๆ ที่เขาทำในช่วงเวลาหนึ่งๆ (ในอีกทางหนึ่งก็คือ พวกเขาไม่ได้ขายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผลิต แต่พวกเขากลับขายความสามารถในการทำงาน) ค่าตอบแทนที่แลกมาด้วยกำลังแรงงานคือเงินที่ทำให้พวกเขามีชีวิตรอดต่อไปได้ กลุ่มคนที่ต้องขายกำลังแรงงานเพื่อการยังชีพคือ "ชนชั้นกรรมาชีพ" ในขณะที่คนที่ซื้อกำลังแรงงาน ซึ่งมักจะเป็นผู้ที่ครอบครองที่ดินและเครื่องมือรวมถึงเทคโนโลยีในการผลิตคือ "นายทุน" หรือ "กระฎุมพี" แน่นอนว่าจำนวนของชนกรรมาชีพย่อมมากกว่าจำนวนนายทุน มาร์กซเชื่อว่าการอธิบายระบบทุนนิยมในลักษณะนี้เป็นการอธิบายแบบวัตถุพิสัย ซึ่งแตกต่างจากคำกล่าวอ้างอื่นๆ เกี่ยวกับระบบทุนนิยม ซึ่งมักจะขึ้นกับอุดมการณ์บางอย่าง
มาร์กซแยกแยะความแตกต่างระหว่างนายทุนกับผู้ค้าขาย พ่อค้าแม่ค้าซื้อสินค้าจากที่หนึ่งมาเพื่อขายในอีกที่หนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนก็คือ พวกเขาซื้อของจากตลาดหนึ่งเพื่อไปขายยังอีกตลาดหนึ่ง เนื่องจากกฎอุปสงค์และอุปทานทำงานภายในตลาดใดๆ ตลาดเดียว ราคาโภคภัณฑ์ระหว่างสองตลาดอาจมีความแตกต่างกันได้ ผู้ค้าขายจึงใช้ประโยชน์จากความแตกต่างนี้เพื่อหวังกำไร ในความคิดของมาร์กซนั้น นายทุนกลับใช้ความแตกต่างระหว่างตลาดแรงงานกับตลาดของโภคภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น มาร์กซสังเกตว่าในทุกๆ อุตสาหกรรมที่ประสบผลสำเร็จ ค่าจ้างแรงงานจะมีราคาต่ำกว่าราคาของสินค้าที่ผลิตได้ มาร์กซเรียกความแตกต่างนี้ว่า "มูลค่าส่วนเกิน" และอธิบายว่ากำไรของนายทุนนั้นเกิดจากมูลค่าส่วนเกินนี่เอง
รูปแบบการผลิตแบบทุนนิยมนั้นมีศักยภาพในการเติบโตได้มหาศาล ทั้งนี้เนื่องจากนายทุนนั้นสามารถนำผลกำไรที่ได้ไปลงทุนเพิ่มในเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ และนายทุนเองก็มีแรงจูงใจที่จะการลงทุนเพิ่มเติมในลักษณะเช่นนี้ด้วย มาร์กซมองว่าชนชั้นนายทุนเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นกลุ่มที่คอยปฏิวัติเครื่องมือในการผลิตอยู่ตลอดเวลา แต่มาร์กซเชื่อว่าในระบบทุนนิยมนั้นจะมีการเกิดวิกฤตเป็นระลอกๆ เขาชี้ให้เห็นว่านายทุนจะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ในปริมาณที่มากขึ้น ในขณะที่จะลดต้นทุนของแรงงานลงเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน เนื่องจากมาร์กซเชื่อว่ามูลค่าส่วนเกินที่ได้จากการขูดรีดแรงงานคือที่มาของกำไร เขาสรุปว่าการลงทุนดังกล่าวจะทำให้อัตราได้กำไรลดลงแม้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นก็ตาม การที่อัตราได้กำไรลดลงต่ำกว่าจุดๆ หนึ่งจะก่อให้เกิดภาวะถดถอยหรือภาวะตกต่ำที่จะทำให้บางส่วนของระบบเศรษฐกิจจะพังลง มาร์กซเข้าใจว่าในช่วงวิกฤตดังกล่าวค่าจ้างแรงงานก็จะเกิดการตกต่ำลงเช่นเดียวกัน และในที่สุดก็จะทำให้การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่เป็นไปได้ และทำให้เกิดการเติบโตขึ้นของส่วนใหม่ๆ ของระบบเศรษฐกิจ
มาร์กซเชื่อว่าวงจรของการเติบโต, ทรุด, และเติบโตใหม่ จะก่อให้เกิดภาวะวิกฤตที่เลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้นเขาเชื่อว่าผลกระทบในระยะยาวของกระบวนการนี้จะทำให้นายทุนมีความแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่กรรมาชีพกลับยากจนลงทุกที เขาเชื่อว่าถ้ากรรมาชีพลุกขึ้นสู้และเข้ายึดครองเครื่องมือในการผลิตแล้ว พวกเขาจะสร้างความสัมพันธ์ในสังคมขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกๆ คนอย่างเท่าเทียม และก่อให้เกิดระบบการผลิตแบบใหม่ซึ่งทนทานต่อวิกฤตการณ์มากกว่าแต่ก่อน กล่าวโดยทั่วไปแล้ว มาร์กซเชื่อว่าการเจรจาอย่างสันติจะไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ และการปฏิวัติอย่างรุนแรงของมวลชนขนาดใหญ่ที่มีการจัดการที่ดีเป็นสิ่งที่จำเป็น เขากล่าวว่าเพื่อจะรักษาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ รัฐเผด็จการโดยกรรมาชีพจะต้องถูกสร้างขึ้น แต่หลังจากที่ระบบการผลิตแบบใหม่ได้เริ่มขึ้นรัฐดังกล่าวจะค่อยๆ ลดความสำคัญลงและหายไปเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น