วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คีเลต


สารคีเลต (Chelating agents)
                สารช่วยจับไอออนของโลหะหรือสารคีเลตหรือซีเควสแทรนท์ (sequestrants) มีบทบาทสำคัญในอาหารคือ การทำปฏิกิริยากับโลหะ และไอออนของโลหะอัลคาไลน์เอิร์ท (alkaline earth metals)  ที่ ปะปนอยู่ในอาหารเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนโดยวิธีนี้จะทำให้โลหะหรือไอออน ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพลดน้อยลง เช่น ช่วยรักษาเสถียรภาพของสี กลิ่น รส และเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์อาหาร โลหะหลายตัวที่อยู่ในสภาวะคีเลต (chelated state)  ในธรรมชาติ เช่น แมกนีเซียมในคลอโรฟิลล์  ทองแดง สังกะสี  และแมงกานีสในเอนไซม์หลายชนิด  เหล็กในโปรตีนคือ เฟอร์ริทีน  (feritin)  และเหล็กในวงพอร์ไพรีนของฮีโมโกลบินของเลือด เมื่อโลหะไอออนเหล่านี้ถูกปลดปล่อยออกมาโดยปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสหรือปฏิกิริยาการแตกหัก (degradation reactions) มันจะสามารถทำปฏิกิริยาต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนสี เกิดกลิ่นหืน ความขุ่น  และ การเปลี่ยนแปลงกลิ่นรสของอาหาร สารคีเลตจึงได้ถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับโลหะไอออนเหล่า นี้และช่วยทำให้อาหารคงคุณภาพไว้ได้ สารคีเลตที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ กรดโพลีคาร์บอกซิลิก (polycarboxylic acid)  เช่น กรดซิตริก กรดมาลิก  กรดทาร์ทาริก  กรดออกซาลิก  และกรดซัคซินิก  กรดโพลีฟอสฟอริก เช่น อะดีโนซีนไตรฟอสเฟตและไพโรฟอสเฟต และโมเลกุลขนาดยักษ์ (macro molecules) เช่น พอร์ไฟรีนและโปรตีน เป็นต้น
                การใช้สารคีเลตในผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ มีดังนี้คือ
1.       การใช้สารคีเลตเพื่อช่วยทำให้น้ำมันและไขมันคงตัว โดยสารคีเลตทำหน้าที่เสริมกับ
สารกันหืนหรือสารต้านออกซิเดชัน  เช่น ทองแดงหรือเหล็กเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันได้  สารคีเลตจะจับกับพวกโลหะเหล่านี้  ปฏิกิริยา ออกซิเดชันก็จะเกิดช้าลงอย่างไรก็ตาม สารคีเลตจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมันละลายได้ในไขมันและน้ำมัน เช่น การใช้กรดซิตริกและซิเตรตเอสเทอร์ (citrate ester) ประมาณ 20-200 ส่วนในล้านส่วน ละลายในสารละลายโพรพีลีนไกลคอล (propylene glycol) ซึ่งละลายในไขมันและน้ำมันได้ จึงสามารถใช้กับระบบลิพิดได้ทุกระบบ ส่วนเกลืออีดีทีเอ ได้แก่ โซเดียมอีดีทีเอ (Na2EDTA) และโซเดียมแคลเซียมอีดีทีเอ (Na2Ca-EDTA) ซึ่ง ละลายในไขมันได้น้อยจึงใช้ไม่ได้กับระบบไขมันบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามเกลืออีดีทีเอปริมาณถึง 500 ส่วนในล้านส่วน ใช้เป็นสารต้านออกซิเดชันที่ได้ผลในระบบอิมัลชัน เช่น น้ำสลัด (salad dressing) มายองเนส และมาร์การีน
2.       การใช้สารคีเลตในอาหารทะเล ได้แก่ พอลิฟอสเฟต (polyphosphates) และ EDTA ใช้
ในอาหารทะเลกระป๋อง เพื่อป้องกันการเกิดผลึกคล้ายแก้ว (glassy crystals) คือ สตรูไวท์ (struvite)  ซึ่งเป็นผลึกของแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต (MgNH4PO46H2O)   อาหาร ทะเลมีแมกนีเซียมไอออนอยู่ปริมาณมากพอควร ซึ่งอาจจะทำปฏิกิริยากับแอมโมเนียมฟอสเฟตระหว่างช่วงการเก็บเกิดเป็นผลึก ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นแก้วปนเปื้อนอยู่   สารคีเลตจะจับ(chelation)กับ แมกนีเซียมและลดการเกิดผลึกคล้ายแก้วดังกล่าว สารคีเลตยังสามารถใช้ในการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับเหล็ก ทองแดง และสังกะสีในอาหารทะเลเพื่อป้องกันปฏิกิริยาโดยเฉพาะกับซัลไฟต์ซึ่งจะทำให้ ผลิตภัณฑ์อาหารเปลี่ยนสีได้
3.       การใช้สารคีเลตในผัก เช่นการใส่สารคีเลตลงไปในผักก่อนลวก (blanching) สามารถ
ยับยั้งการเปลี่ยนสีที่เกิดจากเอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดสเพราะจับกับทองแดงซึ่งเป็น โคแฟกเตอร์ของเอนไซม์
4.       การใช้สารคีเลตในเครื่องดื่ม  กรดซิตริกและกรดฟอสฟอริกเป็นสารที่ทำให้เครื่องดื่ม
เป็นกรด (acidulant) มันยังสามารถเกิดคีเลชันกับโลหะที่อาจเป็นตัวการให้เกิดการออกซิไดซ์สารที่ ให้กลิ่นรส เช่น เทอร์พินและเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนสี สารคีเลตช่วยรักษาคุณภาพของเครื่องดื่มที่หมักจากมอลต์ (fermented malt beverages) โดยเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับทองแดง เนื่องจากทองแดงอิสระสามารถเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารประกอบโพลีฟีนอล และหลังจากนั้นจะทำปฏิกิริยากับโปรตีนทำให้เครื่องดื่มขุ่น
           5.       การใช้สารคีเลตเพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของวิตามินในอาหาร วิตามินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในอาหารและที่เติมลงไปในผลิตภัณฑ์อาหารมักจะสูญเสียไปได้ง่ายระหว่างกระบวน การผลิตและระหว่างการเก็บ ปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการสูญเสียวิตามินคือ โลหะ  ดังนั้น การใส่สารคีเลตซึ่งจะจับกับโลหะเหล่านี้ทำให้วิตามินเหล่านี้ยังคงอยู่ในอาหารไม่ถูกทำลายไป สาร-คีเลตบางประเภท   มี ความสามารถในการเกิดคีเลชันสูงมาก เช่น อีดีทีเอ ทำให้มีการคาดคะเนว่า ถ้ามีสารนี้มากเกินไปในอาหารอาจนำไปสู่การกำจัดแคลเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ ในร่างกายจนหมด ด้วยเหตุนี้จึงมีการควบคุมปริมาณและวิธีการใช้และโดยการเติมแคลเซียมใน ผลิตภัณฑ์อาหารในรูปของเแคลเซียมของอีดีทีเอแทนที่จะใส่ในรูปของเกลือ โซเดียม  เช่น  Na-EDTA , Na2-EDTA , Na3-EDTA  หรือ Na4-EDTA หรือรูปของกรด
สารคีเลต


Imageในหมู่ผู้ปลูกผักไฮโดรฯ ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับเหล็กคีเลตกันเป็นอย่างดี  เนื่องจากเป็นส่วนผสมในแม่ปุ๋ยที่ใช้กันในระบบปลูก  แต่หลายคนยังไม่ทราบความหมายของคำว่าคีเลต  และอาจยังไม่ทราบว่ายังมีอาหารเสริมในรูปคีเลตอีกหลายตัวที่เราใช้ในระบบ ไฮโดรฯ  และทำไมต้องอยู่ในรูปของคีเลตด้วย 

สารคีเลต คือสารอินทรีย์เคมีซึ่งสามารถจะรวมกับจุลธาตุอาหารที่มีประจุบวกได้แก่ เหล็ก,สังกะสี,ทอง แดง,แมงกานีส เป็นต้น ปฏิกิริยาการรวมนี้เรียกว่า chelation จะได้คีเลต โดยสารคีเลตจะล้อมแคตไอออนของธาตุที่เป็นโลหะไว้ไม่เปิดโอกาสให้ประจุลบจาก ที่อื่น(ดินที่มีปัญหากรด)เข้าทำปฏิกิริยาได้ ทำให้จุลธาตุคีเลตนี้ไม่เกิดการตกตะกอนเป็นไฮดรอกไซด์ของโลหะ จึงเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากขึ้น
 คีเลตที่เกิดขื้นส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ ดี พืชจึงสามารถดูดซึมผ่านรากนำธาตุอาหารรองเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ และต้องมีโครงสร้างภายในที่ประกอบด้วยโลหะต่างๆที่กล่าวมาแล้วไม่ตกตะกอนใน ตัวคีเลตเอง และที่สำคัญธาตุโลหะต้องไม่เกาะตัวกันแน่นเกินไป เพราะเมื่อคีเลตถูกพืชดูดซึมเข้าไปแล้ว ธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นควรจะแตกตัวให้พืชดูดซึมไปใช้งานได้จึงจะเรียกว่า เป็นคีเลตที่ดี  ดังนั้น ปุ๋ยคีเลต จึงหมายถึง ปุ๋ยอาหารเสริมหรือปุ๋ยจุลธาตุ
สารคีเลตที่ใช้ทำปุ๋ยจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริมมีอยู่ 2 ประเภทคือ

1. สารอินทรีย์ธรรมชาติ เช่น กรดฮิวมิก กรดฟีโนลิก กรดซิตริก   และ กรดอะมิโน
 2. สารคีเลตสังเคราะห์ มีสมบัติในการจับธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส ตัวอย่าง เช่น EDTA  ย่อมาจากเอทิลีนไดอามีน เตตราอะเซติก แอซิด
              การดูดธาตุอาหารเสริมในรูปคีเลตมักใช้ทางใบ เนื่องจากโมเลกุลของคีเลตซึ่งเป็นวงแหวนเมื่อจับธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส หรือสังกะสี ธาตุใดธาตุหนึ่งไว้ภายในโครงสร้างนั้น คีเลตจะปกป้องไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เมื่อฉีดพ่นไปที่ผิวใบ จะแทรกซึมผ่านเข้าสู่ภายในใบพืช บางส่วนจะเคลื่อนย้ายลงไปสู่รากได้อีกด้วย หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยคีเลตให้สูงขึ้น ควรผสมสารจับใบในอัตราที่พอเหมาะกับปุ๋ยคีเลต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น