วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

CHEMISTRY THEORY BORND


ทฤษฎีพันธะเคมี 
(CHEMISTRY THEORY BORND)

ทฤษฎีพันธะเคมี 
พันธะเคมี คือ การที่มีแรงยึดอะตอมเข้าเป็นโมเลกุลในที่นี้พันธะทางเคมี  มีอยู่หลายแบบด้วยกันซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายไว้มากมายเกี่ยวกับทฤษฎีพันธะเคมีดังนี้

1.        ทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุล(molecular orbital theory ; MO theory )
                ทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุลเป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายว่าทั้งโมเลกุลและอะตอม ต่างก็มีออร์บิทัลซึ่งเป็นที่ที่อิเล็กตรอนสามารถเข้ามาอยู่ได้ โดยแต่ละออร์บิทัลมีพลังงานต่างกันไป หลักการสำคัญของทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุลจะมองว่าอิเล็กตรอนในออร์บิทัลโมเลกุลไม่ได้อยู่ประจำที่ ( delocalized electrons ) แต่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทั่วทั้งโมเลกุล
ถ้าเป็นออร์บิทัลของ อะตอม    เรียกว่า  ออร์บิทัลอะตอม
ถ้าเป็นออร์บิทัลของ โมเลกุล  เรียกว่า  ออร์บิทัลโมเลกุล
ข้อดี ของทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุลสามารถทำนายการเกิดเป็นโมเลกุล สมบัติทางแม่เหล็ก และให้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะเร้าของโมเลกุลได้

                การซ้อนเหลื่อมกันของออร์บิทัลอะตอม ทำให้เกิดออร์บิทัลโมเลกุลซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
      1. ออร์บิทัลโมเลกุลแบบสร้างพันธะ (bonding molecular orbital ; BMO) การเกิดออร์บิทัลโมเลกุลแบบนี้จะทำให้อิเล็กตรอนมีพลังงานลดลงนั่นคือมีความเสถียรมากขึ้น
      2. ออร์บิทัลโมเลกุลแบบต้านพันธะ (anti-bonding molecular orbital ; AMO การเกิดออร์บิทัลโมเลกุลแบบนี้จะทำให้อะตอมที่ได้มีพลังงานเพิ่มขึ้น นั่นคือมีความเสถียรน้อยลง
โดยทั่วไปแล้วระดับพลังงานของออร์บิทัลโมเลกุลมีลำดับดังนี้

 
                            σ1s < σ*1s < σ2s < σ*2s < py ,px < σz < p*y , p*x < σ*z

ยกเว้น O2 และ F2 ที่ 2
σZ < 2pPx < 2pPy 


การบรรจุอิเล็กตรอนลงในออร์บิทัล
1. ให้นำเวเลนซ์อิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมมารวมกันโดยไม่สนใจว่ามาจากอะตอมใด
2. จากนั้นให้บรรจุเวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้งหมดลงในออร์บิทัลโมเลกุลโดยให้เริ่มบรรจุในออร์บิทัลมีพลังงานต่ำก่อน โดยยึดหลักที่ว่า
     2.1 หนึ่งออร์บิทัลมีอิเล็กตรอนได้ 2 ตัว
     2.2 อิเล็กตรอนสองตัวในออร์บิทัลเดียวกันต้องมีสปินที่ตรงกันข้าม      
3. ถ้ามีสองออร์บิทัลมีพลังงานเท่ากันเช่น  px และ py ให้บรรจุอิเล็กตรอนลงในออร์บิทัลใดก่อนก็ได้ โดยบรรจุตามกฏของฮุนด์ จากนั้น ถ้ามีอิเล็กตรอนเหลือก็ให้บรรจุในออร์บิทัลใดก่อนก็ได้โดยมีสปินตรงข้ามกับอิเล็กตรอนตัวเดิม

อันดับพันธะ
                อันดับพันธะ  หมายถึง  จำนวนคู่อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันระหว่างอะตอม คำนวณได้จากอันดับพันธะ = 1/2(จำนวนอิเล็กตรอนในออร์บิทัลแบบสร้างพันธะ -จำนวนอิเล็กตรอนในออร์บิทัลแบบต้านพันธะ) อันดับพันธะไม่จำเป็นต้องเป็นเลขจำนวนเต็มยิ่งอันดับพันธะมีค่ามาก โมเลกุลนั้นยิ่งเสถียรแต่ถ้าอันดับพันธะมีค่าเท่ากับศูนย์ โมเลกุลนั้นไม่เสถียรหรือไม่สามารถเกิดได้จริง เช่น H2 มีอันดับพันธะ = 1/2(2-0) = 1

สมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้า
                พาราแมกเนติก (paramagnetic) มีสมบัติเบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า เกิดขึ้นได้ถ้าในออร์บิทัลโมเลกุลมีอิเล็กตรอนที่ไม่เข้าคู่ไดอะแมกเนติก (diamagnetic) ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเกิดขึ้นในออร์บิทัลโมเลกุลมีอิเล็กตรอนเข้าคู่ออร์บิทัล
             ออร์บิทัลโมเลกุลของธาตุต่างชนิดกัน (heteronuclear diatomic molecule)โดยทั่วไปแล้วออร์บิทัลอะตอมของอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำกว่ามักจะมีค่าพลังงานสูงกว่า  ตัวอย่างออร์บิทัลโมเลกุลของธาตุต่างชนิดกัน เช่น  HF  ;  H มี 1 เวเลนซ์อิเล็กตรอน และ F มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน  จะเห็นว่าอิเล็กตรอนทั้ง 8 ตัวบรรจุอยู่ในออร์บิทัลโมเลกุลทั้งหมด 4ออร์บิทัลโดยออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานสูงสุดที่มีเล็กตรอนบรรจุอยู่เป็นชนิด ไพออร์บิทัลซึ่งอิเล็กตรอนในไพออร์บิทัลจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ H อะตอม เรียกออร์บิทัลเหล่านี้ว่า non-bonding orbital


2.         ทฤษฎีแถบพลังงาน ( band theory )
              โลหะ สามารถนำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี มีลักษณะเป็นเงาและมีความวาวเมื่อถูกแสง นอกจากนี้ยังสามารถดึงเป็นเส้น ตีเป็นแผ่น    หรือบิดงอได้โดยไม่แตกหัก ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญเหล่านี้ก็เนื่องจากโลหะยึดกันด้วยพันธะชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ พันธะโลหะ
ทฤษฎีที่ใช้อธิบายพันธะโลหะ

       1. แบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน ( electron sea model )
       2. ทฤษฎีแถบพลังงาน ( band theory )

1.        แบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน ( electron sea model )






                                                                                                                                         
                จากรูปแสดงลักษณะของพันธะโลหะ ทรงกลมสีเทาคือ ไอออนบวกของโลหะ ทรงกลมสีแดงที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลานี้ คือ อิเล็กตรอน เรามักเรียกแบบจำลองของการเกิดพันธะโลหะนี้ว่า   ทะเลอิเล็ก    ตรอน      เนื่องจากในผลึกของโลหะมีจำนวนอิเล็กตรอนมหาศาลที่ไหลไปมาได้อย่างอิสระตลอดเวลา
           ซึ่งอิเล็กตรอนเหล่านี้ทำหน้าที่คล้ายซีเมนต์ ที่ช่วยยึดไอออนจึงทำให้อิเล็กตรอนในโลหะถึงเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา โลหะที่มีประจุบวกให้อยู่ในตำแหน่งที่คงที่ การที่อิเล็กตรอนสามารถไหลไปมาในโลหะได้นี้ ทำให้โลหะมีคุณสมบัติเป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่ดี (เมื่อมีสนามไฟฟ้ากระทำอิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วบวก) และการที่อิเล็กตรอนทำหน้าที่คล้ายซีเมนต์นี้ (cement effect) ทำให้โลหะแข็ง ผิวหน้าของโลหะเป็นมันวาวเนื่องจากโลหะสามารถดูดกลืน และคายพลังงานได้ในช่วงความยาวคลื่นที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากอิเล็กตรอนอยู่ไม่ประจำที่และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระจึงสามารถมีพลังงานเท่าไหร่ก็ได้
ทฤษฎีแถบพลังงาน (band theory)
          เมื่อออร์บิทัลอะตอมสองออร์บิทัลมารวมกันจะได้ออร์บิทัลโมเลกุลสองชนิดคือ ออร์บิทัลโมเลกุลแบบมีพันธะ (bonding molecular orbital) และออร์บิทัลโมเลกุลแบบต้านพันธะ (anti-bonding molecular orbital)  ดังเช่นกรณีของ Li2   (Li : 1s22s1)   ซึ่งแสดงออร์บิทัลโมเลกุลที่ระดับ 2s เมื่อมีอะตอมมากขึ้นและจำนวนออร์บิทัลโมเลกุลมากขึ้น ระดับพลังงานจะใกล้ชิดกันมากขึ้นจนดูเหมือนว่าเป็นแถบต่อเนื่องกัน แถบดังกล่าวนี้ เรียกว่า แถบพลังงาน (energy band)   อิเล็กตรอนจะมีพลังงานค่าต่างๆได้ภายในแถบ หรือภายในแถบที่มีการซ้อนเหลื่อมกันเท่านั้น (กรณีที่ระดับพลังงานไม่ห่างกันมากแถบพลังงานสามารถซ้อนเหลื่อมกันได้) แถบพลังงานนี้เรียกว่า แถบอนุญาต (allowed band) สำหรับช่วงที่ว่างที่ไม่มีแถบพลังงานเรียกว่า ช่องต้องห้าม (forbidden gap

เกร็ดความรู้
ทำไมอิเล็กตรอนในโลหะถึงเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา ?
             มีค่าพลังงานไอออไนเซซันที่ต่ำ ดังนั้นจึงยึดอิเล็กตรอนวงนอกสุดไว้อย่างหลวมๆ ทำให้อิเล็กตรอนเหล่านี้เคลื่อนที่ไปมารอบๆโลหะตลอดเวลาเหมือนกับว่าไม่ได้เป็นอิเล็กตรอนของอะตอมตัวใดตัวหนึ่ง แต่เป็นเสมือนกับว่าเป็นของอะตอมทุกตัว (มีล้านๆอะตอมในผลึกโลหะ)  


3.  ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ (valence bond theory)
          ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ หรือทฤษฎีเวเลนซ์บอนด์เป็นทฤษฎีที่เกิดก่อนทฤษฎีโมเลคิวลาร์ออร์บิทัล แต่ทฤษฎีนี้ก็สามารถอธิบายรูปร่างของโมเลกุลได้ดีโดยไม่ต้องทำการคำนวณ สมมติฐานของทฤษฎีนี้มีอยู่ว่า
      1. เมื่ออะตอมเข้าใกล้กัน อะตอมมิกซ์ออร์บิทัลที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยวจะซ้อนกัน (overlab) และอิเล็กตรอนเดี่ยวเข้าคู่กันและหมุนสวนทางกัน ในออร์บิทัลใหม่จึงเกิดเป็นพันธะโคเวเลนซ์
      2. อะตอมมิกซ์ออร์บิทัลยิ่งซ้อนกันมากเท่าไรพันธะที่ได้ก็ยิ่งมีความเสถียรมากเท่านั้น
      3. การที่จะเกิดการซ้อนกันได้มากๆ อะตอมมิกซ์ออร์บิทัลจะรวมกันเป็นอะตอมมิกซ์ออร์บิทัลลูกผสม(hybrid atomic orbital) ที่มีจำนวนเท่ากับอะตอมมิกซ์ออร์บิทัลเดิมก่อน
      4. เมื่ออะตอมหนึ่งเกิดพันธะมากกว่าหนึ่งพันธะ มุมระหว่างพันธะจะเท่ากับมุมของออร์บิทัลที่ใช้เข้ารวมกันนั้น
การเกิด H2 โมเลกุล 1s-ออร์บิทัล ของทั้งสองอะตอมซ้อนกัน อิเล็กตรอนจากทั้งสองอะตอมจับคู่อยู่รวมกันระหว่างอะตอมทั้งสองเกิดเป็นพันธะ ถ้า He สองอะตอมเข้าใกล้กัน1s-ออร์บิทัล จะซ้อนกัน แต่อิเล็กตรอนจาก He  เป็นอิเล็กตรอนคู่ที่ไม่มีปฏิกิริยาต่อกัน จึงไม่มีโมเลกุลของ He ที่เป็นสองอะตอม  Li เกิดเป็น Li2  ได้  2s-อิเล็กตรอนจับคู่กันเมื่อออร์บิทัลซ้อนกัน ส่วน Be ไม่เกิดเป็น Be2 โมเลกุล ด้วยเหตุผลเดียวกับ He แต่นักเคมีพบว่า Be เกิดสารประกอบโคเวเลนซ์กับธาตุอื่นโดยมี สองพันธะที่เหมือนกันทุกประการและโมเลกุลเป็นเส้นตรง เช่น BeCl2  จะเกิดพันธะได้ ถ้ามีอิเล็กตรอนเดี่ยว 2 ตัว แต่อิเล็กตรอนคอนฟิกิวเรชันของ Be เป็น 1s2 2s2  ดังนั้น Be จะมีอิเล็กตรอนเดี่ยวได้  2s-อิเล็กตรอน ตัวหนึ่งต้องย้ายไปอยู่ที่ 2p เป็น 1s2 2s1  2p1  ซึ่งถ้าเป็นดังนี้แล้วพันธะทั้งสองของ  BeCl2 จะต้องแตกต่างกัน หรือถ้ามีการจัดอิเล็กตรอนใหม่เป็น 1s2 2s0 2px1 2py1  พันธะ  BeCl2 เหมือนกัน แต่มุมที่เกิดจากพันธะทั้งสองจะเป็น 90ไม่ใช่ 180
ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายการเกิดพันธะด้วยการซ้อนเหลื่อมกันของออร์บิทัลอะตอม โดยทั่วไปแล้วถ้าอิเล็กตรอนมีสปินเหมือนกันเมื่อเข้าใกล้กันจะมีการผลักกันเกิดขึ้นทำให้พลังงานเพิ่มขึ้น ถ้าอิเล็กตรอนมีสปินตรงกันข้าม เมื่อเข้าใกล้กันจะมีการดึงดูดกันเกิดขึ้น ทำให้พลังงานลดลง



            ในกรณีของอะตอมสองอะตอมที่อิเล็กตรอนมีสปินตรงกันข้ามจะเห็นว่า อะตอมสามารถซ้อนเหลื่อมกันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้ามีการซ้อนเหลื่อมกันมากกว่านี้ พลังงานของโมเลกุลจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้โมเลกุลที่เกิดขึ้นไม่เสถียร ro คือตำแหน่งที่อะตอมทั้งสองเกิดการซ้อนเหลื่อมกัน แล้วทำให้โมเลกุลที่ได้มีพลังงานต่ำสุด การซ้อนเหลื่อมของออร์บิทัลจะสอดคล้องกับความแข็งแรงของพันธะ คือ ถ้ามีอิเล็กตรอนหนาแน่นมากในตำแหน่งที่ซ้อนเหลื่อม(ระหว่างนิวเคลียสของสองอะตอม) พันธะที่เกิดขึ้นก็จะมีความแข็งแรง

          ข้อดี   ของทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ คือ ใช้อธิบายการเกิดพันธะเมื่อทราบรูปร่างโมเลกุล และยังสามารถอธิบายได้ว่าทำไมพันธะเดี่ยวมีความยาวพันธะมากกว่าพันธะคู่ และพันธะคู่มีความยาวพันธะมากกว่าพันธะสาม รวมถึงอธิบายลำดับความแข็งแรงของพันธะได้อีกด้วย

                       ลำดับความแข็งแรงของพันธะ      พันธะสาม > พันธะคู่ > พันธะเดี่ยว
                       ความยาวพันธะ                             พันธะสาม < พันธะคู่ < พันธะเดี่ยว

           พันธะเดี่ยว   เกิดจาก พันธะซิกมา 1 พันธะ    พันธะคู่  เกิดจาก พันธะซิกมา 1 พันธะ และ พันธะไพ 1 พันธะ    พันธะสาม  เกิดจาก พันธะซิกมา 1 พันธะ และ พันธะไพ 2 พันธะ  จะเห็นว่าพันธะคู่และพันธะสามมีการสร้างพันธะทั้งพันธะซิกมาและไพ จึงแข็งแรงกว่าพันธะเดี่ยว   อย่างไรก็ตามพันธะสามมีการสร้างพันธะซิกมาเท่ากับพันธะคู่แต่พันธะสามมีพันธะไพมากกว่าดังนั้นจึงแข็งแรงกว่า
          ในแง่ของความยาวพันธะ จะเห็นว่าพันธะคู่และพันธะสามสั้นกว่าพันธะเดี่ยวเนื่องจากมีการซ้อนเหลื่อมตามแนวข้าง เพื่อให้เกิดพันธะไพ ดังนั้นอะตอมจึงต้องอยู่ชิดกัน เพื่อให้สามารถซ้อนเหลื่อมกันได้ตามแนวข้าง ในขณะที่พันธะเดี่ยวไม่มีการซ้อนเหลื่อมตามแนวข้าง อย่างไรก็ดีพันธะสามสั้นกว่าพันธะคู่เนื่องจากมีการซ้อนเหลื่อมตามแนวข้างถึงสองแกน ในขณะที่พันธะคู่มีการซ้อนเหลื่อมตามแนวข้างเพียงแกนเดียว










เช่น       F2 (1s22s22p5)  แผนผังแสดงอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในการสร้างพันธะเป็นดังนี้


รูปการซ้อนเหลื่อมของ 2pzออร์บิทัลแสดงได้ดังนี้


ไฮบริไดเซซัน (hybridization)
           ไฮบริไดเซซัน คือ ปรากฎการณ์ที่ออร์บิทัลในอะตอมเดียวกัน ที่มีระดับพลังงานใกล้เคียงกันเกิดการรวมกันเกิดเป็นไฮบริดออร์บิทัล (hybrid orbital) ซึ่งแต่ละไฮบริดออร์บิทัลจะครอบครองพื้นที่เท่ากัน และอยู่ห่างกันมากที่สุดเพื่อทำให้พลังงานรวมของออร์บิทัลมีพลังงานน้อยที่สุด ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เกิดไฮบริดออร์บิทัลมีรูปร่างต่างๆกันไป และพลังงานรวมของไฮบริดออร์บิทัลน้อยกว่าผลรวมพลังงานทั้งหมด ของออร์บิทัลอะตอมก่อนการเกิด
ไฮบริไดเซซัน

ประเภทของไฮบริดออร์บิทัล 
         1. sp-ไฮบริดออร์บิทัล เกิดจากการรวมกันระหว่าง s และ p ออร์บิทัลอย่างละหนึ่งออร์บิทัลได้ไฮบริดออร์บิทัลเป็นเส้นตรง
เช่น   C2H2



C2H2      ;
จะเห็นว่าเกิดไฮบริไดเซซันระหว่าง 2s สองออร์บิทัลกับ p ออร์บิทัลหนึ่งออร์บิทัลได้เป็น sp- ไฮบริดออร์บิทัลมีอิเล็กตรอนเดี่ยวสองตัว ตัวหนึ่งเกิด พันธะซิกมากับ H และอีกตัวเกิด พันธะซิกมากับ คาร์บอนอีกตัว ส่วน p-ออร์บิทัลเกิดพันธะไพกับคาร์บอนอะตอมอีกตัวได้เป็นโมเลกุลเส้นตรง

          2. sp 2-ไฮบริดออร์บิทัล เกิดจากการรวมกันระหว่าง s 1 ออร์บิทัลและ p 2 ออร์บิทัลได้ไฮบริดออร์บิทัลเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ  เช่น
C2H4      ; จะเห็นว่าเกิดไฮบริไดเซซันระหว่าง 2s กับ p สองออร์บิทัลได้เป็น sp2- ไฮบริดออร์บิทัลมีอิเล็กตรอนเดี่ยวสามตัว โดยสองตัวเกิด พันธะซิกมากับ H และอีกตัวเกิด พันธะซิกมากับ คาร์บอนอีกตัว ส่วน p-ออร์บิทัลเกิดพันธะไพกับคาร์บอนอะตอมอีกตัวได้เป็นโมเลกุลดังรูป

           3.sp3-ไฮบริดออร์บิทัล เกิดจากการรวมกันระหว่าง s 1ออร์บิทัลและ p 3 ออร์บิทัลได้ไฮบริดออร์บิทัลเป็นรูปทรงสี่หน้า
เช่น CH4

2s กับ 2p ในอะตอมของ C เกิด การไฮบริไดเซซันได้ sp3-ไฮบริดออร์บิทัล ที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยวสี่ตัว ดังนั้นจึงสามารถสร้างพันธะกับ H ทั้งสี่อะตอมได้เป็นโมเลกุล
4. sp3d-ไฮบริดออร์บิทัล  เกิดจากการรวมกันระหว่าง s ออร์บิทัล1 ออร์บิทัล, d ออร์บิทัล1ออร์บิทัลและ p ออร์บิทัล 3 ออร์บิทัลได้ไฮบริดออร์บิทัลเป็นรูปคู่พีระมิดร่วมฐานสามเหลี่ยม (trigonal bipyramid)



เช่น PCl5
3s, 3p และ 3d ในอะตอมของ pเกิด การไฮบริไดเซซันได้ sp3d- ไฮบริดออร์บิทัลมีอิเล็กตรอนเดี่ยวห้าตัว ดังนั้นจึงสามารถสร้างพันธะกับ Cl ทั้งห้าอะตอมได้เป็นโมเลกุล
           5. sp3d2-ไฮบริดออร์บิทัล เกิดจากการรวมกันระหว่าง s ออร์บิทัล 1 ออร์บิทัล, d ออร์บิทัล 2 ออร์บิทัลและ p ออร์บิทัล 3 ออร์บิทัลได้ไฮบริดออร์บิทัลเป็นรูปทรงแปดหน้า (octahedron)
เช่น SF6

3s, 3p และ 3d ในอะตอมของ S เกิด การไฮบริไดเซซันได้ sp3d2- ไฮบริดออร์บิทัล ที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยวหกตัว ดังนั้นจึงสามารถสร้างพันธะกับ F ทั้งหกอะตอมได้เป็นโมเลกุล
ทฤษฎีการผลักคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์ (valence shell electron pair repulsion theory ; VSEPR)
            VSEPR ช่วยเสริมทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ ซึ่งใช้ทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ในกรณีที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (อิเล็กตรอนที่ไม่ได้ใช้สร้างพันธะ) เหลืออยู่ในโมเลกุล สามารถเขียนสูตรได้เป็น AXmEn
                   เมื่อ         A  เป็นอะตอมกลาง
                                  X  เป็นอะตอมหรือหมู่อะตอมที่ยึดอยู่กับ A โดยใช้พันธะโคเวเลนต์
                                  E  เป็นสัญลักษณ์แทน คู่อิเล็กตรอนที่ไม่ใช้สร้างพันธะ
                                  m  เป็นจำนวนคู่อิเล็กตรอนที่ใช้สร้างพันธะ
                                  n  เป็นจำนวนคู่อิเล็กตรอนที่ไม่ใช้สร้างพันธะหรือ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว  
            รูปร่างโมเลกุลที่เกิดจากการผลักของอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว    ทฤษฎีนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะพยายามอธิบายรูปร่างของโมเลกุลซึ่งทฤษฎีนี้ได้รับการพิสูจน์มาแล้วจริงๆ โดยอาศัยเทคนิคทาง electron- diffraction

                         รูปร่างโมเลกุลและไอออนที่ไม่มีและมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวได้ดังตาราง

สรุปรูปร่างโมเลกุลและไอออนที่ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว

สูตร
จำนวนพันธะ
รูปร่างของโมเลกุล
ตัวอย่าง
AX2
2
เส้นตรง  (linear)
HgCl2, BeCl2
AX3
3
สามเหลี่ยมแบนราบ  (trigonal planar)
BCl3, BF3, GaI3
AX4
4
ทรงสี่หน้า  (tetrahedral)
CH4, CHCl3, SnCl4
AX5
5
คู่พีระมิดร่วมฐานสามเหลี่ยม  (trigonal bipyramidal)
PCl5, PF5, PF3Cl2
AX6
6
ทรงแปดหน้า  (octahedral)
SF6





สรุปรูปร่างโมเลกุลและไอออนที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวได้ดังตาราง

สูตร
จำนวนคู่
อิเล็กตรอนโดดเดี่ยว
รูปทรงที่ได้จากไฮบริดออร์บิทัล
รูปร่างของโมเลกุล
ตัวอย่าง
AX2E
1
สามเหลี่ยม
รูป V
SnCl2, SO2
AX3E
1
ทรงสี่หน้า
พีระมิดฐานสามเหลี่ยม
NH3, PCl3
AX4E
1
คู่พีระมิดร่วมฐานสามเหลี่ยม
กระดานหก
SF4, TeCl4
AX5E
1
ทรงแปดหน้า
พีระมิดฐานจตุรัส
BrF3, IF5
AX2E2
2
ทรงสี่หน้า
รูป V
H2O, SCl2
AX3E2
2
คู่พีระมิดร่วมฐานสามเหลี่ยม
รูป T
BrF3, ClF3
AX4E2
2
ทรงแปดหน้า
จัตุรัสระนาบ
XeF4, ICl4-
AX2E3
3
คู่พีระมิดร่วมฐานสามเหลี่ยม
เส้นตรง
I3-, XeF2