วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แผนการสอนรายวิชาเคมี (5E)


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้   วิทยาศาสตร์                รายวิชา  เคมี                      ช่วงชั้นที่  4
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5                                ภาคเรียนที่    2
หน่วยการเรียนรู้ที่  3    เรื่อง  สารละลายกรด-เบส                                             เวลา  2  ชั่วโมง                    
 สอนโดย  นางสาวณัฐพร   ขาวิราช                 โรงเรียน  เบิดพิทยาสรรค์


        มาตรฐาน ว 3.2  เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา เคมีมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระสำคัญ
          สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวเป็นไอออนและนำไฟฟ้าได้จัดเป็นสารอิเล็กโทรไลต์ ถ้าแตกตัวได้ดีเป็นอิเล็กโทรไลต์แก่  แต่ถ้าแตกตัวได้ไม่ดีเป็นอิเล็กโทรไลต์อ่อน สารละลายอิเล็กโทรไลต์อาจมีสมบัติเป็นกรด เป็นเบสหรือเป็นกลาง  สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดแสดงสมบัติด้วยไฮโดรเนียมไอออน(H3O+) ส่วนสารละลายที่มีสมบัติเป็นเบสแสดงสมบัติด้วยไฮดรอกไซด์ไอออน(OH-)  

จุดประสงค์การเรียนรู้
          ด้านความรู้
1.       อธิบายเหตุผลที่สารละลายอิเล็กโทรไลต์นำไฟฟ้าได้
2.       บอกชนิดของไอออนที่ทำให้สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรดหรือเบสได้
3.       อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสารละลาย การนำไฟฟ้าและอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์
ความเป็นกรด เบสได้
ด้านทักษะกระบวนการ
1.       จำแนกประเภทของสารละลายโดยใช้การเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสและการนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์
ได้
2.       สรุปสมบัติของสารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์ พร้อมทั้งระบุได้ว่าสารใดเป็น
สารละลายอิเล็กโทรไลต์แก่  อิเล็กโทรไลต์อ่อน  หรือนอนอิเล็กโทรไลต์ได้
          3.   มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการทดลอง การเก็บรักษาอุปกรณ์ ทำความสะอาด เทคนิคการ
ทดลอง รายงาน การอภิปรายและวิเคราะห์ผลการทดลองได้อย่างถูกต้อง
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.       มีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์
2.       มีความมุ่งมั่นในการทำงานเป็นกลุ่มและเดี่ยว
3.       มีความกระตือรือร้นในการทำงาน/กิจกรรม

กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นสร้างความสนใจ 
1.       ครูและนักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างสารประกอบไอออนิกและโคเวเลนต์ที่รู้จักประมาณ 4-5
ตัวอย่าง
2.       ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับพันธะเคมี  โดยให้นักเรียนช่วยกันเขียนแผนภาพแสดง
การเปรียบเทียบลักษณะของพันธะไอออนิกและพันธะโควาเลนต์บนกระดาษที่แจกให้ดังต่อไปนี้
พันธะ  ไอออนิก
1....(อะตอมยึดเหนี่ยวกันอย่างไร).....
2....(สมบัติการละลายน้ำเป็นอย่างไร)...
3.....(สมบัติการนำไฟฟ้า)..................................
4......อื่นๆ....
   พันธะโควาเลนต์
1..... (อะตอมยึดเหนี่ยวกันอย่างไร)......
2..... .(สมบัติการละลายน้ำเป็นอย่างไร)...
3....... (สมบัติการนำไฟฟ้า)....
4............อื่นๆ......................
 






ก.    ครูนำนักเรียนเข้าสู่เนื้อหาโดยใช้คำถามในประเด็นต่อไปนี้
- นักเรียนคิดว่าถ้านำ NaCl ไปละลายน้ำ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
        - นักเรียนคิดว่าถ้าผ่านกระแสไฟฟ้าลงไปในสารละลาย NaCl สารละลายนี้จะนำไฟฟ้าได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ข.    ครูให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารละลายที่นำไฟฟ้าได้เรียกว่า สารละลายอิเล็กโทรไลต์ และเรียกสารที่แตกตัวเป็นไอออนในสารละลายว่า สารอิเล็กโทรไลต์ 
ค.    นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดว่าถ้านำ C12H22O11 ไปละลายน้ำ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ขั้นสำรวจและค้นหา
          1. นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น  4  - 5  กลุ่มๆ ละ 4-5  คนและทำการศึกษาผลการทดลองเรื่อง สมบัติบางประการของสารละลายที่ได้มีการทดลองไว้แล้ว
          2. นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่านวิธีการทดลอง แล้วครูถามเพื่อให้นักเรียนเกิดเข้าใจตรงกันในการทดลอง
                   - นักเรียนคิดว่าการทดลองนี้ทดลองเกี่ยวกับอะไร ทำเพื่ออะไร  ทำอย่างไร
          3. นักเรียนแต่ละกลุ่มรับอุปกรณ์ และทำการทดลอง
ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป   
1.       นักเรียนและครูร่วมกันศึกษาการทดลอง เรื่องการศึกษาสมบัติบางประการของ
สารละลาย โดยครูใช้คำถาม แล้วสุ่มนักเรียนตอบคำถามดังนี้
                    - ถ้าใช้สมบัติการเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสเป็นเกณฑ์ นักเรียนจะจำแนกสารละลาย ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
                   - นักเรียนคิดว่าถ้าใช้สมบัติการนำไฟฟ้าของสารละลายเป็นเกณฑ์จะจำแนกสารละลายได้ กี่ประเภท อะไรบ้าง
                    - นักเรียนคิดว่าสารละลายที่นำไฟฟ้าได้แต่ละชนิด ทำให้หลอดไฟสว่างเท่ากันหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด  พร้อมให้นักเรียนเขียนสมการการแตกตัว
                    - จากการทดลองนี้ให้นักเรียนสรุปความสัมพันธ์ระหว่าง สารละลาย  การนำไฟฟ้า สารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์     ความเป็นกรด เบสได้ โดยให้เขียนเป็นแผนภาพสรุปความสัมพันธ์ ในกระดาษที่แจกให้
ขั้นขยายความรู้
1. จากการทดลอง นักเรียนจะพบว่าสารละลายทั้งสองนำไฟฟ้าได้แสดงว่ามีไอออนอยู่ในสารละลายนั้น ถ้านำผลการเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสมาพิจารณาด้วย นักเรียนคิดว่าในสารละลายกรดและเบส จะมีไอออนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
2.       ครูกล่าวเพิ่มเติม เนื่องจากสารละลายกรดทุกชนิดเป็นสารละลายอิเล็กโทร์ไลต์และเปลี่ยนสี
กระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง แสดงว่าในสารละลายกรดจะมีไอออนบางชนิดเหมือนกัน
            -ให้นักเรียนเขียนสมการแสดงการเปลี่ยนแปลงของแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ในน้ำ 
            -ให้นักเรียนเขียนสมการแสดงการเปลี่ยนแปลงของกรดอะซิติกในน้ำ ซึ่งเป็นอิเล็กโทรไลต์อ่อน ไอออนที่เกิดจากการแตกตัวสามารถเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้
ก.          ครูใช้คำถาม จากข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์และกรดอะซิติกในน้ำ นักเรียนสรุปได้ว่าอย่างไร
ข.          ครูกล่าวเพิ่มเติม เนื่องจากสารละลายเบสทุกชนิดเป็นสารละลายอิเล็กโทร์ไลต์และเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน แสดงว่าในสารละลายเบสจะมีไอออนบางชนิดเหมือนกัน
            - ครูให้นักเรียนเขียนสมการแสดงการเปลี่ยนแปลงของโซเดียมไฮดรอกไซด์ในน้ำ 
            - ครูให้นักเรียนเขียนสมการแสดงการเปลี่ยนแปลงของแอมโมเนียในน้ำ ซึ่งเป็นอิเล็กโทรไลต์อ่อน ไอออนที่เกิดจากการแตกตัวสามารถเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้
ค.          ครูใช้คำถาม จากข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโซเดียมไฮดรอกไซด์และแอมโมเนียในน้ำ นักเรียนสรุปได้ว่าอย่างไร
ง.           ครูใช้คำถาม จากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว ให้นักเรียนสรุปเกี่ยวกับไอออนที่อยู่ในสารละลายกรดและสารละลายเบส
ขั้นประเมินผล
1.       ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนวิชาเคมี 3 ของ สสวท.
 
สื่อการเรียนรู้
1. ใบความรู้เรื่อง สารอิเล็กโทรไลต์และสารนอนอิเล็กโทรไลต์
2. หนังสือเรียนวิชาเคมี 3 ของ สสวท.
3. อุปกรณ์การทดลอง แบบบันทึกกิจกรรม เรื่อง สมบัติบางประการของสารละลาย




การประเมินผล
การวัดผลประเมินผลด้าน
วิธีการวัด

เครื่องมือวัด

เกณฑ์การผ่าน
ด้านความรู้ความเข้าใจ
-อธิบายเหตุผลที่สารละลายสารละลายอิเล็กโทรไลต์นำไฟฟ้าได้
-บอกชนิดของไอออนที่ทำให้สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรดหรือเบสได้
-อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง สารละลาย  การนำไฟฟ้า สารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์    ความเป็นกรด เบสได้
-สรุปสมบัติของสารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์ พร้อมทั้งระบุได้ว่าสารใดเป็น  สารละลายอิเล็กโทรไลต์แก่  อิเล็กโทรไลต์อ่อน  หรือนอนอิเล็กโทรไลต์ได้
- สังเกตจากการตอบคำถาม
- ตรวจรายงานผลปฏิบัติการ
- จากการสังเกต

- รายงานผลปฏิบัติการ

- ได้คะแนน  60% ขึ้นไป
ด้านทักษะกระบวนการ
-จำแนกประเภทของสารละลายโดยใช้การเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสและการนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ได้
- ทำกี่ทดลองเพื่อตรวจสอบสารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์
- สังเกตจากการปฏิบัติการทดลอง
- ตรวจรายงานการปฏิบัติการ
- แบบประเมินทักษะการทดลอง

- ได้คะแนนในระดับ 60%  ขึ้นไป
ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
- มีความใฝ่เรียนรู้
- มีวินัยในการทำงาน
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- มีความกระตือรือร้นในการทำงาน/กิจกรรมที่ดี
- การสังเกตจากการทำงาน
- การส่งงานตรงต่อเวลา
- แบบสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์

- ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป

ความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง
.............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ..............................................................................................................................................................................
                                                                                 (……………………………………………….)
                                                                                      นางประภารัตน์  การรัมย์




รายงานการทดลองเรื่อง สมบัติบางประการของสารละลาย
วัน................ ...ที่.................เดือน..........................................พ.ศ. ....................   เวลา.........................น.
ผู้ทำการทดลอง   1. ......................................................................   2. .............................................................
                      3. ......................................................................   4. .............................................................
                    5 ……………………………………………………………...   6.  ……………………………………………………

1.วัตถุประสงค์ของการทดลอง....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

2.ผลการทดลอง
สารละลาย
การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้
การเปลี่ยนสีของลิตมัต
การนำไฟฟ้า
ความสว่างของหลอดไฟ
HCl



CH3COOH



NaCl



KNO3



NaOH



KOH



NH3



CH3COONa



NH4Cl



C2H5OH



C12H22O11




คำถามหลังการทดลอง
1.       เมื่อใช้สมบัติการเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสเป็นเกณฑ์  จำแนกสารละลายได้เป็น 3 ประเภท คือ
- สารละลายที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสน้ำเงินเป็นแดง  แสดงว่ามีสมบัติเป็น…………………  ได้แก่
.......................................................................................................................................................................
     - สารละลายที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสแดงเป็นน้ำเงิน แสดงว่ามีสมบัติเป็น…………………. ได้แก่ 
…………………………………….………………………………………………………………………………………………………………


   - สารละลายที่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสน้ำเงินและแดง แสดงว่ามีสมบัติเป็นกลางได้แก่ 
……………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……
2. เมื่อใช้สมบัติการนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์จำแนกสารละลายได้เป็น 2 ประเภท คือ
    - สารละลายที่นำไฟฟ้า ได้แก่  สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรดและเบสทุกชนิด และสารละลายที่มีสมบัติเป็นกลางบางชนิด คือ……………………………………………………..………………………………………………………………….
   - สารละลายที่ไม่นำไฟฟ้า ได้แก่  สารละลายที่มีสมบัติเป็นกลางบางชนิด  ได้แก่ ………………………………………………..................................…………………………………………………………………..
3. สารละลายที่นำไฟฟ้าได้แต่ละชนิดจะนำไฟฟ้าได้แตกต่างกัน  ซึ่งสังเกตได้จากหลอดไฟสว่างไม่เท่ากัน  แสดงว่าตัวละลายแตกตัวเป็นไอออนได้ต่างกัน
   - สารละลายที่นำไฟฟ้าได้ดี  จัดเป็นสารละลาย..................................................... ได้แก่  ..............................................................................................................................................................................
   - สารละลายที่นำไฟฟ้าได้น้อยหรือไม่นำไฟฟ้าได้ไม่ดี  จัดเป็นสารละลาย........................................................  ได้แก่  .................................................................................................................................................................
   - สารละลายที่ไม่นำไฟฟ้า จัดเป็นสารละลาย.......................................................  ได้แก่............................................................................................................................................................................

สรุปผลการทดลอง
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................











ใบความรู้
เรื่อง สารอิเล็กโทรไลต์และสารนอน-อิเล็กโทรไลต์
*******************************************************************************************
          อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) หมายถึง สารที่เมื่อละลายในน้ำจะนำไฟฟ้าได้ เนื่องจากมีไอออนซึ่งอาจจะเป็นไอออนบวก หรือไอออนลบเคลื่อนที่อยู่ในสารละลาย สารละลายอิเล็กโทรไลต์นี้อาจเป็นสารละลายกรด เบส หรือเกลือก็ได้ ตัวอย่างเช่น สารละลายกรดเกลือ (HCl) สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และสารละลายของเกลือ KNO3 เป็นต้น โดยในสารละลายดังกล่าวประกอบด้วยไอออน H+ , Cl- ,OH- , K+  และ NO3-  ตามลำดับ
          นอนอิเล็กโทรไลต์ (Non-electrolyte)  หมายถึง สารที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้เมื่อละลายน้ำ ทั้งนี้ เนื่องจาก สารพวกนอนอิเล็กโทรไลต์ จะไม่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ เช่น  น้ำบริสุทธิ์  น้ำตาล แอลกอฮอล์  เป็นต้น
          ความแตกต่างของสารอิเล็กโทรไลต์และนอน-อิเล็กโทรไลต์ พิจารณาจากสาร 2 ชนิดที่มีสูตร AB กับ CD เมื่อละลายน้ำจะรวมกันน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ภาพที่ 1 การเป็นอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์ของสาร
จากภาพ  AB  เป็นสารนอนอิเล็กโทรไลต์ เพราะ AB ไม่ละลายน้ำและไม่แตกตัวเป็นไอออน
          CD  เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ เพราะ CD จะแตกตัวได้  C+  และ  D-  ไอออนซึ่งถูกล้อมรอบด้วยโมเลกุลของน้ำ



อิเล็กโทรไลต์แก่และอิเล็กโทรไลต์อ่อน
          สารละลายอิเล็กโทรไลต์ต่างๆ นำไฟฟ้าได้ไม่เท่ากัน เนื่องจากการแตกตัวเป็นไอออนของอิเล็กโทรไลต์ไม่เท่ากัน อิเล็กโทรไลต์ที่แตกตัวเป็นไอออนได้มากกว่า ก็จะนำไฟฟ้าได้ดีกว่าอิเล็กโทรไลต์ที่แตกตัวเป็นไอออนได้น้อยกว่า อิเล็กโทรไลต์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
          1. อิเล็กโทรไลต์แก่  (strong electrolyte) หมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวเป็นไอออนได้มาก อาจจะแตกตัวได้ 100%  และนำไฟฟ้าได้ดีมาก เช่น กรดแก่  และเบสแก่ และเกลือส่วนใหญ่จะแตกตัวได้ 100%  เป็นต้น
          2. อิเล็กโทรไลต์อ่อน (weak electrolyte) หมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวได้บางส่วน นำไฟฟ้าได้น้อย
ตารางที่ 1 ตัวอย่างของอิเล็กโทรไลต์แก่ และอิเล็กโทรไลต์อ่อนบางชนิด
อิเล็กโทรไลต์แก่
(นำไฟฟ้าได้ดี)
อิเล็กโทรไลต์อ่อน
(นำไฟฟ้าได้ไม่ดี)
เกลือที่ละลายน้ำทั้งหมด
H2SO4
HNO3
HCl
HBr
HClO4
NaOH
KOH
Ca(OH)2
Ba(OH)2
CH3COOH
H2CO3
HNO2
H2SO3
H2S
H2C2O4
H3BO3
HClO
NH4OH
HF

          การทดสอบว่าสารละลายเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ หรือไม่ก็ต้องดูการนำไฟฟ้าของสารละลาย เราอาจทดสอบโดยใช้เครื่องมือง่ายๆ ดังนี้

1. การทดสอบการนำไฟฟ้าของสารละลาย
          สารละลายที่นำไฟฟ้า ได้แก่ สารละลายของกรด เบส และเกลือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว ต่อเข้ากับแหล่งให้พลังงานไฟฟ้า (ให้ศักย์ไฟฟ้า) หลอดไฟ และสวิตซ์ให้ครบวงจรดังภาพ
ภาพที่ 3 อุปกรณ์การวัดการนำไฟฟ้าของสารละลายอิเล็กโทรไลต์

วิธีทดสอบ เมื่อกดสวิตซ์ลงเพื่อให้ครบวงจร ถ้าสารละลายในภาชนะเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ หลอดไฟจะสว่างขึ้น แสดงว่าสารละลายนั้นนำไฟฟ้าได้
ตัวอย่างผลการทดลองการทดสอบการนำไฟฟ้า
สารที่ใช้ทดสอบ
ผลการทดสอบ
น้ำบริสุทธิ์
น้ำที่มีน้ำตาลละลายอยู่
ยูเรีย (CO(NH2)2
สารละลายเกลือ NaCl
สารละลายเกลือ K2SO4
สารละลายกรด HCl
สารละลายกรดแอซิติก (CH3COOH)
สารละลายเบส NaOH
สารละลายเบส NH4OH
ไม่นำไฟฟ้า      (หลอดไฟไม่สว่าง)
ไม่นำไฟฟ้า      (หลอดไฟไม่สว่าง)
ไม่นำไฟฟ้า      (หลอดไฟไม่สว่าง)
นำไฟฟ้า         (หลอดไฟสว่าง)
นำไฟฟ้า         (หลอดไฟสว่าง)
นำไฟฟ้า         (หลอดไฟสว่าง)
นำไฟฟ้าน้อย    (หลอดไฟสว่างน้อย)
นำไฟฟ้า         (หลอดไฟสว่าง)
นำไฟฟ้า         (หลอดไฟสว่าง)
         
ผลที่ได้อธิบายได้ว่า สารละลายที่ไม่มีไอออนอยู่ เช่น น้ำ หรือน้ำตาลทราบที่ละลายอยู่ในน้ำมัน จะมีพันธะแบบโคเวเลนต์ ไม่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ จึงไม่นำไฟฟ้า แต่ NaCl  HCl เมื่ออยู่ในน้ำจะแตกตัวเป็น  Na+ , Cl- หรือ H+ , Cl- ซึ่งเป็นไอออนที่เคลื่อนที่ในสารละลายทำให้เกิดการนำไฟฟ้าขึ้นได้

2. การทดสอบสมบัติอื่นๆ ของสารละลาย
          1. การทดสอบความเป็นกรด-เบส จากการเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส
-     ถ้าสารละลายเป็นกรดจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
-                   ถ้าสารละลายเป็นเบส          จะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน
-                   ถ้าสารละลายเป็นเกลือจะเปลี่ยนหรือ ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสก็ได้
นอกจากการใช้กระดาษลิตมัส อาจจะใช้อินดิเคเตอร์อื่นๆ เช่น เมทิลเรด ฟีนอล์ฟทาลีน ก็ได้
          2. การทดสอบปฏิกิริยาของกรดและปฏิกิริยาของเบส
          ปฏิกิริยาของกรด
                   . ทำปฏิกิริยากับโลหะ จะได้ก๊าซไฮโดรเจน  เช่น
                             HCl(aq)  +  Ca (s)  ®  CaCl2 (aq)  +  H2 (g)
                             H2SO4 (aq)  +  Mg (g)  ®  MgSO4 (aq) + H2 (g)
                   . ทำปฏิกิริยากับโลหะออกไซด์ ได้เกลือกับน้ำ
                             2HCl (aq)  +  Na2O (s) ®  2NaCl (aq)  +  H2O (l)
                             H2SO4 (aq)  +  MgO (g)  ®  MgSO4 (aq) + H2O (l)
                   . ทำปฏิกิริยากับคาร์บอเนตได้ก๊าซ CO2 น้ำ และเกลือ
                             2HCl (aq)  +  NaCO3 (aq) ® 2NaCl  +  H2O  +  CO2
                             HCl (aq)  +  NaHCO3 (aq) ® NaCl  +  H2O  +  CO2
                   . ทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ
                             2HCl (aq)  +  NaOH (aq) ®  NaCl (aq) + H2O (l)
                             CH3COOH (aq) + NaOH (aq) ® CH3COONa (aq) + H2O (l)
          ปฏิกิริยาของเบส
                   . ทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด ให้ก๊าซไฮโดรเจน
                             2NaOH (aq)  +  Zn (s)  ®  Na2ZnO2 (aq)  + H2 (g)
                             6KOH (aq) + 2Al (s)  ® 2K3AlO3 (aq) + 3H2 (g)
                   . ทำปฏิกิริยากับเกลือ ได้เป็นเกลือไฮดรอกไซด์ของโลหะที่ไม่ละลายน้ำ
                             2NaOH (aq) + MnCl2 (aq) ® Mn(OH)2 (s) + 2NaCl (aq)
                             2KOH (aq) + CuSO4 (aq) ® Cu(OH)2 (s) + K2SO4 (aq)
                   . ทำปฏิกิริยากับเกลือแอมโมเนียม  เช่น NH4Cl  ได้ก๊าซ NH3 (g)
                             NaOH (aq) + NH4Cl (aq)  ®  NaCl (aq) + H2O (l) + NH3 (g)
                             KOH (aq) + NH4Cl (aq)  ®  KCl (aq) + H2O (l) + NH3 (g)
                   . ทำปฏิกิริยากับกรดได้เกลือกับน้ำ






บันทึกกิจกรรมหลังการสอน
ผู้บันทึก  นางสาวณัฐพร  ขาวิราช  วันที่บันทึก  ...................................................................................
1. การดำเนินการจัดการเรียนรู้            (   )   เป็นไปตามแผน
 (   )   ไม่ เป็นไปตามแผน
2. บรรยากาศระหว่างการเรียน 
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
3. สรุปผลการจัดการเรียนรู้
จำนวนนักเรียนที่ผ่านการประเมิน .................. คน    คิดเป็นร้อยละ  .................................
จำนวนนักเรียนที่ไม่ผ่าน การประเมิน ................ คนคิดเป็นร้อยละ  .................................
4.ปัญหาที่พบในการจัดการเรียนรู้
.........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
5.สิ่งที่ควรพัฒนาในการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
6.แนวทางการแก้ไขนักเรียนที่ไม่ผ่านการประเมิน
........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
     .........................................................................................................................................................  

                                      ลงชื่อ................................
............... ผู้สอน
                                                                          ( นางสาวณัฐพร   ขาวิราช )
                                                                            นักศึกษาฝึกประสบการณ์
                                                                                   ............../....................../.................





เสนอแนะหัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์                                  ....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ.......................................หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
                                ( นายวีระชัย  พรหมบุตร )

ข้อเสนอแนะหัวหน้าฝ่ายวิชาการ    
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
                                                            ลงชื่อ.......................................หัวหน้าฝ่ายวิชาการ    
                                           ( นางไฉไล   เสาเวียง )

ข้อเสนอแนะผู้บริหารสถานศึกษา
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

                                                     ลงชื่อ..........................................................
                          ( นายวิชัย   สาลีงาม )
                                                                     ผู้อำนวยการโรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์
                                                                      ..................../..................../.................