วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คู่มือการแนะแนว


คู่มือการแนะแนว
                การแนะแนว คือจิตวิทยาประยุกต์ แขนงหนึ่งที่ว่าด้วย กระบวนการพัฒนาคนให้รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ รู้จัก ความถนัด ความชอบ สติปัญญา ภูมิหลังของตนเอง วิเคราะห์ตนเองได้ถูกต้องรู้จักเลือกและตัดสินใจได้ ปรับตนเองได้อย่างเหมาะสมและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุขช่วยตนเองหรือพึ่งตนเองได้ เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้บุคคลได้มีบทบาทเต็มที่ในการเรียนรู้เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพและสามารถจัดการกับชีวิตของตนอย่างฉลาด การจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพนั้นต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ความพร้อมในการเรียนรู้ความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
                การแนะแนวเป็นกระบวนหนึ่งของการศึกษาที่จะพัฒนามนุษย์ให้เป็นพลเมืองดี มีความรู้ในทักษะกระบวนการต่าง ๆ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้และมีความสุขในการดารงชีวิต
                ความสาคัญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีความมุ่งหมายและหลักการว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และกำหนดแนวการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และ
เต็มตามศักยภาพ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์
และการประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ดังนั้น
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกาหนดให้มีสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มวิชา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ส่งผลให้การดำเนินชีวิตในปัจจุบันมีความยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่งขึ้น บุคคลจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี กิจกรรมแนะแนวจึงมีความสาคัญในการทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของการรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น

                ธรรมชาติ/ลักษณะเฉพาะ กิจกรรมแนะแนวเป็นกระบวนการพัฒนาและช่วยเหลือผู้เรียนด้วยการจัดบริการ และกิจกรรมที่หลากหลายทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถจัดการชีวิตของตนได้ตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถบนพื้นฐานของความเชื่อว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า สามารถพัฒนาให้เจริญงอกงามได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
                จุดมุ่งหมาย เพื่อให้บุคคลรู้จักตนเอง รู้จักโลกแวดล้อม สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา รู้จักเลือกและวางแผนชีวิตการเรียน อาชีพ และสามารถปรับตนเองได้อย่างเหมาะสม สามารถพัฒนาตนเต็มศักยภาพ อันจะนำไปสู่การมีชีวิตที่มีความสุข ความสาเร็จ และเป็นประโยชน์
สรุปการแนะแนวมีจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ คือ
1. ป้องกัน
2. แก้ไข
3. พัฒนา
ปรัชญาและหลักการแนะแนว

                         ปรัชญา
                                              หลักการ


1. คนทุกคนมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
1.จัดบริการให้กับทุกคน (ไม่เลือกปฏิบัติ)และให้บริการด้วยความเคารพในเกียรติแห่งความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน โดยคานึงถึงประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นสาคัญ
2. คนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
2. การจัดบริการจะต้องคานึงถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไม่มีการบังคับ
3. คนแต่ละคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้
3. การให้บริการต้องเปิดโอกาสให้บุคคลได้มีบทบาทสาคัญในการใช้ปัญญาเรียนรู้ หาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง และได้พัฒนาตนเต็มตามศักยภาพของตน ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกัน บริการแนะแนวต้องจัดให้นักเรียนทุกคนเพื่อเขาได้มีโอกาสเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง การจัดวิชาเรียนควรจัดให้นักเรียนมีโอกาส เลือกเรียน อย่างกว้างขวาง ตามความถนัด ความสนใจ ความสามารถ และสอดคล้องกับความต้องการ ของท้องถิ่นและสังคมโลก
4. แต่ละคนมีความแตกต่างกัน แต่มีความต้องการพื้นฐานที่เหมือนกัน
4. การให้บริการต้องตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล คนมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บริการแนะแนวต้องจัดอย่างต่อเนื่องให้นักเรียนรู้จักตนเองเพื่อสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจนสามารถตัดสินใจได้
5. พฤติกรรมย่อมมีสาเหตุและบุคคลเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุ
5. การให้บริการคือการอานวยเหตุปัจจัยที่เหมาะสมในการสร้างเสริมพัฒนาการหรือพฤติกรรมที่พึงประสงค์ พฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุ การจัดการแนะแนวจึงต้องศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนให้ชัดเจนเพื่อให้ครูและนักเรียนเกิดความเข้าใจกัน ยอมรับความจริง ตลอดจนสามารถแก้ไขและพัฒนาตนได้
6. คนทุกคนย่อมมีปัญหา คนต้องอยู่ร่วมกันในสังคมที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลย่อมส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น





ขอบข่ายงานแนะแนว
6. การให้บริการช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ เป็นภารกิจที่พึงกระทาด้วยความเมตตา และด้วยความรู้ ความเข้าใจ และทุกคนควรมีส่วนร่วมรวมถึงการช่วยเหลือสังคม และสิ่งแวดล้อม

บริการ จุดมุ่งหมาย วิธีการ /เทคนิค/ เครื่องมือ



1.บริการสารวจข้อมูล เพื่อให้ครูรู้จักนักเรียนและให้นักเรียนรู้จักตนเองในทุกด้าน เช่น ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ บุคลิกภาพฯลฯ การสังเกต สัมภาษณ์ สอบถามทดสอบ อัตชีวประวัติ ระเบียนพฤติการณ์ สังคมมิติ ระเบียนสะสม การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล
2.บริการสนเทศ เพื่อให้เด็กได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่จาเป็นในด้านการศึกษา อาชีพสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และเลือกปรับตนให้เหมาะสมต่อสถานการณ์ และความเปลี่ยนแปลง การปฐมนิเทศ ปัจฉิมนิเทศโฮมรูม การจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการการเชิญวิทยากรบรรยาย การอภิปราย การศึกษานอกสถานที่ การใช้ แหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยี และสื่อมวลชน
3. บริการให้คาปรึกษา เพื่อช่วยให้เด็กสามารถคิดตัดสินใจ และแก้ปัญหาด้วยตนเองได้อย่างรอบคอบและเหมาะสม การให้คำปรึกษารายบุคคลและกลุ่ม
4.บริการจัดวางตัวบุคคล เพื่อช่วยให้เด็กได้รับบริการและประสบการณ์ อันจะเป็นการแก้ปัญหาพัฒนาตนเองตามความต้องการ การจัดเด็กเข้าเรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรม ที่เหมาะสม ตามความสนใจ ความถนัด การสอนซ่อมเสริม การฝึกทักษะทางการเรียน ทักษะการทางาน ทักษะชีวิตและสังคม การจัดหางาน การฝึกงานการจัดทุนการศึกษา ฯลฯ
5. บริการติดตามและประเมินผล เพื่อติดตามนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา และติตามการดำเนินงานแนะแนวทั้งระบบเพื่อประเมินผลและพัฒนางาน

แบบสอบถาม แบบประเมิน การสังเกต สัมภาษณ์ จดหมายติดต่อ
และแบบประเมินต่าง ๆ

 

 


บริการแนะแนวมี 3 ประเภท
                1. แนะแนวด้านการเรียนหรือการศึกษา ซึ่งมีขอบข่ายงานตั้งแต่ การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียน
การฝึกทักษะหรือเทคนิคการเรียนที่มีประสิทธิภาพ การวางแผนการเรียนที่ดี การรู้ช่องทางการศึกษาและ
การเลือกทางศึกษาต่อ ตลอดทั้งการสร้างนิสัยเรียนรู้ตลอดชีวิต
                2. แนะแนวอาชีพ ซึ่งมีขอบข่ายงานตั้งแต่การสร้างเจตคติที่ดีต่อการทางาน และการประกอบอาชีพ
การสร้างความตระหนัก รับรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของโลกอาชีพ การสารวจอาชีพ การตัดสินใจและ
วางแผนด้านอาชีพ การเตรียมตัวเพื่ออาชีพ การเข้าสู่อาชีพและการพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ
ตลอดทั้งการปรับตนในการทางาน
                3.แนะแนวด้านชีวิตและสังคม ซึ่งมีขอบข่ายงานตั้งแต่การรู้จักตนเอง รู้จักชีวิตและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การรู้จักตนเองและรู้คุณค่าของตน การรู้จักปรับตัวและแก้ปัญหา การพัฒนาตนเองการฝึกทักษะชีวิตและทักษะทางสังคม เพื่อให้มีบุคลิกภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
จุดประสงค์ของการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน
                1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจตนเองในทุกๆด้าน เช่น ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ เพื่อนามาเป็นแนวทางในการศึกษาต่อและเลือกอาชีพได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับตนเอง
                2. เพื่อให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจบุคลอื่น ตลอดจนสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดีและดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
                3. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหาของตนได้ด้วยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม
                4. การจัดกิจกรรมแนะแนว 1 คาบต่อสัปดาห์ จะทำให้ครูแนะแนวได้ใกล้ชิดเด็กและรู้จักเด็กแต่ละคนได้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ต่าง ๆให้กับนักเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเด็กในด้านต่างๆได้
                5. ในคาบแนะแนว นอกจะให้ความรู้ในด้านต่างๆที่เด็กสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แล้วยังเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกในเรื่องที่ถูกต้อง โดยจัดกิจกรรมต่างๆให้เด็กได้มีส่วนร่วมและได้แสดงออกในทางที่เหมาะสม
                6. ห้องแนะแนวจะเป็นแหล่งข้อมูล ให้ข่าวสาร ความรู้กับนักเรียนในด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลในการศึกษาต่อ แนวทางการประกอบอาชีพ ข้อมูลในการปรับตัวของนักเรียนและในห้องแนะแนวจะมีห้องให้คำปรึกษาเพื่อบริการแก่นักเรียนที่ต้องการให้เป็นความลับ
                7. เพื่อเป็นการช่วยเหลือนักเรียนตามแต่กรณี เช่น ทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวันหางานพิเศษให้นักเรียนเพื่อช่วยเหลือในด้านเศรษฐกิจ สรรหาและส่งเสริมนักเรียนเรียนดีและมีความสามารถพิเศษ
                8. เพื่อติดตามผล ประเมินผลนักเรียนทั้งที่กาลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนและที่จบการศึกษา และติดตามพฤติกรรมของนักเรียนเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนานักเรียน
ระบบงานแนะแนว
1. บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคล
                1.1 การสำรวจและศึกษาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวนักเรียน
                1.2 การใช้เทคนิคและเครื่องมือทางการแนะแนว
                1.3 การเยี่ยมบ้านนักเรียน
                1.4 การทำระเบียนสะสม
                1.5 การสำรวจปัญหาและความต้องการของนักเรียน
                1.6 การจัดหาและจัดทำเครื่องมือทางการแนะแนว
                1.7 การวิเคราะห์ และวินิจฉัยข้อมูลของนักเรียน
2. บริการสนเทศ
                2.1 การจัดหา ผลิต รวบรวมเอกสารต่างๆ
                2.2 การจัดศูนย์สนเทศ
                2.3 การจัดบอร์ดเพื่อเสนอข้อควรรู้
                2.4 การประชาสัมพันธ์ เช่น การทำจุลสาร การจัดรายการวิทยุโรงเรียน
                2.5 การผลิตเอกสารในรูปแบบต่างๆ
                2.6 การประชุมชี้แจงนักเรียน การเผยแพร่ความรู้เรื่องการแนะแนว
3. บริการให้คำปรึกษา
3.1 การให้คำปรึกษารายบุคล
                3.2 การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม
                3.3 การติดต่อผู้ปกครอง
                3.4 การส่งตัวนักเรียนไปให้หน่วยอื่นช่วยแก้ปัญหา (กรณีพิเศษ)
                3.5 การให้บริการแก่ผู้ปกครองที่มาปรึกษา
                3.6 การติดตามผลหลังให้คำปรึกษา
                3.7 การเก็บสถิติหลังให้คำปรึกษา
4. บริการจัดวางตัวบุคล ส่งเสริม ช่วยเหลือ พัฒนา
                4.1 บริการช่วยเหลือนักเรียนในการเลือกแผนการเรียน การศึกษาต่อและอาชีพ
                4.2 การพิจารณาทุนการศึกษา
                4.3 การหางานพิเศษให้นักเรียน การสนับสนุนให้มีรายได้พิเศษระหว่างเรียน
5. บริการติดตามและประเมินผล
                5.1 ติดตามผลนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา
                5.2 ติดตามผลนักเรียนที่ได้รับบริการ
                5.3 การนำเสนอผลการติดตาม
6. งานสอนกิจกรรมแนะแนว
                6.1 การจัดการเรียนการสอนกิจกรรมแนะแนวในระดับชั้นมัธยมศึกษากำหนดให้สอนสัปดาห์ละ 1 คาบ
                6.2 จัดแผนพัฒนาการสอนวิชากิจกรรมแนะแนว
                6.3ในคาบเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมให้มีการบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนโดยให้นักเรียนประเมินตนเอง ให้เพื่อนประเมินและอาจารย์ผู้สอนประเมินให้นักเรียนทราบเป็นระยะ
7. งานอื่นๆ
                7.1 งานที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียนหรืองานพิเศษ
                7.2 งานประชุมครูแนะแนวเพื่อปรึกษาหารือและพัฒนางานแนะแนว
                7.3 งานดูแลห้องแนะแนวและเก็บรักษาเครื่องมือทางการแนะแนว
                7.4 งานติดต่อประสานงานกับสถาบันต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเตรียมตัวเพื่อการศึกษาต่อและอาชีพ
                7.5 งานบริการและเผยแพร่ความรู้ ผลงานทางวิชาการแก่ชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ
                การปฏิบัติงานแนะแนวในสถานศึกษา
การปฏิบัติงานแนะแนวในสถานศึกษา แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
                1. การจัดบริการแนะแนวอย่างเป็นระบบโดยมีบริการครบ 5 บริการ และครอบคลุมงานแนะแนวทั้ง
3 ประเภท ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบอยู่ในโครงสร้างการบริหารของโรงเรียน และต้องมีโครงการ แผนงาน งบประมาณที่แสดงถึงการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องทั้งปี
                2. การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร ที่กำหนดให้สถานศึกษาต้องจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ซึ่งแบ่งเป็นกิจกรรมแนะแนว และกิจกรรมนักเรียน)และถือเป็นส่วนสาคัญในการจบหลักสูตร
                3. การประยุกต์ใช้หลักการแนะแนวและกระบวนการแนะแนว ในการจัดหลักสูตร และพัฒนาการเรียนการสอน การปกครองดูแลที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ
กิจกรรมการเรียนรู้ในคาบแนะแนว
                1. เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้เน้นเนื้อหาวิชาและกระบวนการวัดผลการเรียนเหมือนการเรียนการสอน
ในวิชาทั่วไป
                2. เป็นการรวมกลุ่มของนักเรียนเพื่อทากิจกรรมอันจะช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆและสามารถแก้ปัญหาได้
                3. ไม่มีหน่วยการเรียน
                4. เป็นกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ค้นพบความถนัด ความสามารถ ความสนใจของตน
                5. เป็นกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการการศึกษา การศึกษาต่อและอาชีพ เพื่อวางแผนการศึกษาและเลือกอาชีพที่เหมาะสม สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตน
                6. เป็นกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนพัฒนาบุคลิกภาพ การปรับตัว รู้จักตนเอง สิ่งแวดล้อมและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
                7. เป็นกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่เป็นพื้นฐานเช่น ขยัน ประหยัดซื่อสัตย์มีวินัย สะอาด รับผิดชอบ สามัคคี กตัญญู
                8. เป็นกิจกรรมเพื่อเสริมให้นักเรียนมีความรู้และทักษะวิชาต่าง ๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีเจคติที่ดีต่อสัมมาชีพ มีนิสัยรักการทำงาน
การแนะแนวแบบมีส่วนร่วม
                งานแนะแนวเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ฉะนั้นทุกคนจึงควรมีส่วนร่วม เพื่อความราบรื่นในการทำงาน และประสานงานร่วมมือกัน จึงควรได้มีการตกลงในบทบาทความรับผิดชอบร่วมกัน ดังนี้
                1. ผู้บริหารสถานศึกษา ในฐานะที่ผู้บริหารมีอำนาจในการตัดสินใจและสั่งการ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงาน ฉะนั้นผู้บริหารจึงมีความสำคัญสูงสุดต่อความสาเร็จของงาน ผู้บริหารที่ดีจึงควรมีบทบาทความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
                1. 1 เป็นผู้ริเริ่ม สนับสนุน ส่งเสริมให้มีการจัดบริการแนะแนว ในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ ให้ครอบคลุมงานทั้งหมด จัดบุคลากรที่เหมาะสม กำหนดบทบาทความรับผิดชอบทุกฝ่ายอย่างชัดเจน จัดหาปัจจัย จัดสภาพแวดล้อม สถานที่ อุปกรณ์ งบประมาณ ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และมีการกำกับติดตามดูแล เพื่อให้การดำเนินงานแนะแนวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์กับเด็กทุกคน
                1.2  เป็นผู้แก้ปัญหาและให้คำปรึกษาแก่บุคลากรในสถานศึกษา รวมทั้งผู้ปกครอง
                1.3  เป็นผู้อานวยความสะดวก และกระตุ้นจูงใจให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันโดยมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และมีการสร้างแรงจูงใจให้แรงเสริม สร้างขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติงานแก่ทุกคนอย่างทั่วถึง
                1.4  เป็นแกนกลางในการประสานงานกับทุกฝ่าย
2. ครูแนะแนว เป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อการจัดระบบงานแนะแนวในสถานศึกษา โดยมีบทบาทสำคัญดังนี้
                2.1  เป็นผู้วางแผนและจัดทาโครงการแนะแนว เพื่อเสนอผู้บริหาร ตามนโยบายของสถานศึกษาโดยมีการสำรวจสภาพแวดล้อม และข้อมูลจากนักเรียนทุกคน ในสถานศึกษา เพื่อให้การวางแผนและโครงการตอบสนอง ต่อปัญหาและความต้องการของนักเรียน และชุมชน
                2.2  เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน การประสานงาน และติดตามประเมินผลในการจัดบริการแนะแนว ให้ครอบคลุม 5 บริการ 3 ประเภท ตามแผนงานและโครงการที่กำหนด
                2.3 เป็นผู้จัดทำแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลัดสูตรและกิจกรรมส่งเสริมหรือบำบัดพิเศษ เฉพาะราย เฉพาะกลุ่ม
                2.4  เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ที่มีปัญหาซับซ้อน เกินความสามารถของครูที่ปรึกษา หรือส่งต่อเด็กไปยังผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง หากปัญหานั้นเกินความสามารถของตน
                2.5  จัดทำแผนและดำเนินการในการพัฒนาครูหรือบุคลากรแนะแนวในสถานศึกษา
3. ครูที่ปรึกษาหรือครูประจำชั้น เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด และมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อนักเรียน ที่ได้รับมอบหมาย ฉะนั้นครูที่ปรึกษา หรือครูประจาชั้น จึงมีบทบาท หน้าที่ ดังต่อไปนี้
                - การดูแลเด็กโดยทั่วไป (การเช็คเวลาเรียน การปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียน ฯลฯ)
                - การศึกษาหาข้อมูลรายบุคคลเพื่อการรู้จักและคัดกรองเด็ก
                - การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมวิสาสะหรือโฮมรูม
                - การให้คำปรึกษาและการช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหา
                - กาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน โรงเรียน และการติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง
                - การประเมินคุณภาพ พัฒนาการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็ก
ครูทั่วไป เนื่องจากครูทุกคนมีหน้าที่สอนและดูแลเด็กอยู่แล้ว ฉะนั้นบทบาทหน้าที่ของครูทุกคน มีดังต่อไปนี้
                - ช่วยกันดูแลให้ความอบอุ่นแก่เด็ก เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับเด็กหรือไม่สร้างความกดดันให้เด็กเกิดปัญหา
                - ช่วยเหลือแก้ปัญหาและให้คำปรึกษาแก่เด็ก เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตามกำลังความสามารถโดย
ไม่เกี่ยงหรือปัดความรับผิดชอบไปที่ครูแนะแนว หรือครูที่ปรึกษาเท่านั้น
                - สอนหรืออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ โดยใช้หลักการและวิธีการแนะแนวที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
                - ช่วยจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียนผู้ปกครอง เนื่องจากผู้ปกครองเป็นผู้รับผิดชอบต่อบุตรหลานของตนเต็มที่ ฉะนั้นผู้ปกครองควร
                - ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ให้ความอบอุ่นและใช้วิธีเลี้ยงลูกอย่างถูกต้อง คือไม่ปล่อยปละละเลย
เข้มงวด หรือทะนุถนอมจนเกินไป จนเด็กมีนิสัยไม่ดี ขาดความรับผิดชอบ
                - เป็นแบบอย่างที่ดี และสร้างสภาพแวดล้อมประสบการณ์ให้เด็กได้สัมผัสกับตัวอย่างที่ดี
                - ร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก โดยไม่ปัดความรับผิดชอบไปให้สถานศึกษาฝ่ายเดียวรวมทั้งเสียสละช่วยเหลือเพื่อพัฒนาสถานศึกษาตามกาลังความสามารถพัฒนาการของนักเรียน
                การจัดกิจกรรมแนะแนว เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ เนื่องจากนักเรียนอยู่ในช่วงวัยรุ่นมีพัฒนาการตามวัยของตน แต่ละคนมีความแตกต่างกันซึ่งพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของนักเรียนมีดังนี้
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 (อายุ 12-15)
ลักษณะทางร่างกาย
                - เด็กส่วนใหญ่เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะเด็กหญิงเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเด็กชาย ในวัยนี้จึงมักมีปัญหาเรื่องการปรับตัว
                - มีลักษณะเก้งก้าง ทาอะไรดูขัดตาไปหมดทั้งนี้ เพราะเด็กคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง เรื่องรูปร่างหน้าตามากเกินไป
ลักษณะทางอารมณ์
                - ค่อนข้างเจ้าอารมณ์และมีอารมณ์ไม่แน่นอน ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และความสับสนในบทบาทของตนเองว่าเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่กันแน่
                - จะขาดความมั่นใจในตนเอง และมักแสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น ทำเสียงดัง แสดงความเป็นผู้นำหรือยึดความเห็นของตัวเองเป็นสำคัญ
                - การแสดงอารมณ์โกรธเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กวัยนี้ ซึ่งจะมาจากความเครียดทางจิต และความไม่สมดุลทางชีวภาพ
ลักษณะทางสังคม
                - ต้องการอิสระและยอมปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่มมากกว่าพ่อแม่หรือผู้ใหญ่
                - เป็นวัยที่กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลอย่างยิ่ง จะไว้วางใจเพื่อนมากกว่าพ่อแม่
                - เป็นวัยที่ขาดความมั่นใจ เด็กจึงมักทำอะไร คล้าย ๆ กับกลุ่ม เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ เช่น การแต่งกาย
การแสดงพฤติกรรมต่างๆ
                - เด็กหญิงมีพัฒนาการทางสังคมเร็วกว่าเด็กชาย
ลักษณะทางสติปัญญา
                - ช่วงความสนใจของเด็กวัยนี้นานขึ้น สามารถทำกิจกรรมที่ยาก ๆ ได้
                - สามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องศีลธรรม จรรยาต่างๆ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4- 6 (16 – 18 ปี)
ลักษณะทางร่างกาย
                - มีความเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่และสนใจในร่างกายของตนเอง จะหมกมุ่นอยู่กับการแต่งตัว
                - สุขภาพของเด็กโดยทั่วไปจะสมบูรณ์เต็มที่ เริ่มมีพัฒนาการทางเพศ ต่อมต่างๆ เจริญเติบโตอย่างเต็มที่
ลักษณะทางอารมณ์
                - ต้องการความอิสระมากขึ้น จึงมีปัญหาขัดแย้งกับพ่อแม่อยู่เสมอ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย
                - จะมีการแสดงออกที่แข็งกร้าว ซึ่งเป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่
                - เป็นวัยเพ้อฝัน โดยเฉพาะเรื่องอนาคต
ลักษณะทางสังคม
                - มีลักษณะชอบทำตามกลุ่มมีการขัดแย้งกับผู้ใหญ่มากขึ้น มีความนิยมหรือคลั่งไคล้อะไรเหมือนๆ กัน ซึ่งบางครั้งอาจมากเกินไป
                - เด็กผู้หญิงมีความก้าวหน้าในด้านสังคม มากกว่าเด็กผู้ชายในวัยเดียวกัน เริ่มมีความสนใจเพศตรงข้าม มีความคิดเรื่องการมีนัดและการแต่งงาน
ลักษณะทางสติปัญญา
                - พัฒนาการทางสมองสูงเกือบเท่าผู้ใหญ่เพียงแต่ขาดประสบการณ์
                - เป็นวัยที่คำนึงถึงการมี ปรัชญาชีวิต โดยมุ่งเกี่ยวกับศีลธรรม จรรยา ศาสนา แต่ยังมีความสับสนอยู่